การปรับปรุงพันธุ์เห็ดหอมโดยการผสมพันธุ์แบบสปอร์เดี่ยว

Main Article Content

หทัยกาญจน์ นำภานนท์
วิเชียร ภู่สว่าง

บทคัดย่อ

เส้นใยเห็ดหอมที่เลี้ยงบนอาหารวุ้นที่มีระดับความเป็นกรด-ด่าง 5.0 มีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่า พวกที่เลี้ยงที่ระดับความเป็นกรด-ด่าง 6.5 และ 3.5 ตามลำดับ แต่เส้นใยเห็ดหอมที่เลี้ยงเป็นระยะเวลา 30 วัน ในอาหารเหลวที่ระดับความเป็นกรด-ด่าง 3.5 จะให้แถบของไอโซไซม์เอสเทอเรสชัดเจนที่สุดลูกผสมเส้นใยนิวเคลียสคู่ 14 สายเชื้อ ที่เกิดจากการผสมของเส้นใยนิวเคลียสเดี่ยวสายพันธุ์ L1 และสายพันธุ์ L2 อย่างละ 7 สายใย มีลูกผสมเพียง 7 สายเชื้อเท่านั้น ที่สามารถออกดอกได้ โดยลูกผสม H7 ให้ผลผลิตดี แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับสายพันธุ์ L1 และสายพันธุ์ L2 ส่วนลูกผสม H10 มีลักษณะคุณภาพค่อนข้างดี แต่ผลผลิตยังต่ำกว่าสายพันธุ์ L1 และสายพันธุ์ L2 ในการทำอิเล็กโตรโฟรีซิสโดยใช้ไอโซไซม์เอสเทอเรสเพียงอย่างเดียวยังไม่สามารถบอกลักษณะความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างลูกที่ได้จากการผสม อัตราการเจริญเติบโตของเส้นใยนิวเคลียสเดี่ยวทั้งสองที่เป็นคู่ผสม ไม่มีความสัมพันธ์แบบเส้นตรงกับอัตราการเจริญเติบโตของเส้นใยของลูกผสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา สัมพันธารักษ์. 2528. ปรับปรุงพันธุ์พืช. บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด , กรุงเทพฯ. 155 หน้า.
ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ. 2525. การเพาะเห็ดบางชนิดในประเทศไทย. โรงพิมพ์มิตรสยาม, กรุงเทพฯ. 128 น.
บรรณ บรูณะชนบท. 2533. เห็ดหอม. เทพพิทักษ์การพิมพ์, กรุงเทพฯ. 94 น.
Chang, S.T. 1978. Volvariella volvacea. P. 573-600. In S.T. Chang and W.A.Hayes (eds). The Biology and Cultivation of Edible Mushroom. Academic Press, New York.
Chang, S.T. 1987. World production of edible mushroom in 1986. Mushroom J.Tropics 7: 117-120. Chang, S.T. and P.G. Miles. 1987. Historical record of the early cultivation of Lentinus in China. Mushroom J. Tropics 7: 31-37.
Elizabeth, M.L. 1972. Fundamentals of the Fungi. Prentice-Hall Inc., New Jersey.574 p
Simchen, G. and J.L. Jinks. 1964. The determination of dikaryotic growth rate in the basidiomycete Schizophyllum commune :a biometrical analysis. Heredity 49: 629-649.