การพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ของผักกาดขาวปลีลูกผสมชั่วที่หนึ่ง

Main Article Content

เอกพจน์ พยัคฆภาพ
โชคชัย ไชยมงคล
ตระกูล ตันสุวรรณ
มณีฉัตร นิกรพันธุ์

บทคัดย่อ

การทดลองมีวัตถุประสงค์ที่จะปรับปรุง และคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ผักกาดขาวปลีที่ผสมตัวเองไม่ได้และให้ลูกผสมที่ดี และศึกษาวิธีการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมโดยใช้ผึ้ง การผลิตเมล็ดพันธุ์แท้ของผักกาดขาวปลีโดยใช้วิธีถ่ายเรณูขณะดอกอ่อนจำนวน 4 พันธุ์ ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกติของการผลิตพันธุ์แท้ เมื่อติดเมล็ดแล้ว พบว่า สายพันธุ์ 40-9 ติดเมล็ดและให้น้ำหนักเมล็ดสูงสุด 0.165 กรัมต่อต้น เมื่อตรวจสอบลักษณะผสมตัวเองไม่ได้ในพันธุ์แท้โดยวิธี seed set analysis และ fluorescent microscope technique พบว่า พันธุ์แท้ทั้งหมด 9 พันธุ์ มีลักษณะผสมตัวเองไม่ได้ยกเว้นสายพันธุ์ 23, 23-3-1,40 และ 142-5 มีลักษณะผสมตัวเองไม่ได้ปานกลางเมื่อทดสอบโดยวิธี fluorescent microscope technique จากนั้นนำสายพันธุ์แท้จำนวน 4 พันธุ์ที่มีลักษณะผสมตัวเองไม่ได้มาผสมแบบสลับพ่อแม่ (ผสมพันธุ์โดยใช้ผึ้ง) จนได้พันธุ์ลูกผสมจำนวน 12 พันธุ์และคู่ผสมที่มีสายพันธุ์ 40-9 เป็นต้นแม่ให้ผลผลิตของเมล็ดพันธุ์ดีที่สุด โดยคู่ผสม 40-9x142-5, 40-9x27-3-7 และ 40-9x 23-3-4 ให้น้ำหนักเมล็ค 4.8, 3.9 และ 2.7 กิโลกรัมต่อไร่ การปลูกทดสอบผักกาดขาวปลีพันธุ์ลูกผสมเปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน ในฤดูหนาวปี 2541 ที่ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า พันธุ์ลูกผสม 142-5x40-9 ให้ผลผลิตปลีสูงสุด คือ 6,170 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 36.33 เปอร์เซ็นต์ซึ่งดีกว่าของพันธุ์มาตรฐาน ส่วนพันธุ์ลูกผสม 23x27, 23x142, 27-3-7x23-3-4, 27-3-7x142-5, 40-9x 23-3-4 ให้ผลผลิตปลี คือ 4,646, 5,551, 3,665, 5,150 และ 3,785 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับซึ่งมีลักษณะทางพืชสวนที่ดี แต่ต้องพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ของผักกาดขาวปลีพันธุ์ลูกผสมเหล่านี้อีก เพื่อผลิตเป็นพันธุ์ลูกผสมที่ดีในอนาคต 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โชคชัย ไชยมงคล, มณีฉัตร นิกรพันธุ์ และ ตระกูล ตันสุวรรณ. 2540. การเปรียบเทียบพันธุ์ผักกาดขาวปลี. รายงานการประชุมวิชาการพืชผักแห่งชาติ ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ. 120-125 หน้า.
ตระกูล ตันสุวรรณ, โชคชัย ไชยมงคล และ มณีฉัตร นิกรพันธุ์. 2540. โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักกาดขาวปลีลูกผสม. รายงานการประชุมวิชาการพืชผักแห่งชาติครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ. 105-119 หน้า.
Briggs, F.N. and P.F. Knowles. 1967. Introduction to plant breeding. Reinhold Publishing Corporation:
A Subsidiary of Chapman-Reinhold, INC., USA. 426 p.
Gaude, T., A. Friry, P. Heizmann, C. Mariac, M. Rougier, I. Fobis and C. Dumas. 1993. Expression of a self incompatibility gene in a self compatible line of B. oleracea. Plant Cell. 5:75-86.
Isogai, A., S. Takayama, C. Tsukamoto, Y. Ueda, H. Shiozawa, K. Hinata, K. Okazaki and A. Suzuki. 1987. S-locus-specific glycoproteins associated with self-incompatibility in rassica campestris. Plant Cell Physiol. 28(7):1279-1291.
Kho, Y.O. and J. Baer. 1968. Observing pollen tubes by means of fluorescence. Euphytica. 17:298- 302.
Nasrallah, J.B. and M.E. Nasrallah. 1993. Pollen-stigma signaling in the sporophytic self incompatibility response. Plant Cell. 5:1325-1335.
Nasrallah, J.B., J.C. Stein, M.K. Kandasamy and M.E. Nasrallah. 1994. Signaling the arrest of pollen tube development in self-incompatible plants. Science. 266:1505-1508.
Opena, P.T., C.G. Kuo and J.Y. Yoon. 1988. Breeding and Seed Production of Chinese Cabbage in the tropic and Subtropics. Technical Bulletin No. 17. AVRDC. Taiwan. p. 92.
Pastuglia, M., V. Ruffio-Chable, V. Delorme, T. Gaude, C. Dumas and J.M. Cock. 1997. A function S locus anther gene is not required for the self incompatibility response in B. oleracea. Plant Cell. 9:2065-2076