บทบาทของสหกรณ์การเกษตรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วราภา คุณาพร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “บทบาทของสหกรณ์การเกษตรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะการประกอบธุรกิจ ปริมาณ และขนาดของธุรกิจของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนบทบาทที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 47 ราย ทำการรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ และจากเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพรรณา ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย


            ผลการศึกษาพบว่า สหกรณ์การเกษตรดำเนินธุรกิจต่างๆ ได้แก่ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจการซื้อ และธุรกิจการขาย โดยมีธุรกิจสินเชื่อเป็นธุรกิจหลัก โดยทั่วไปสหกรณ์การเกษตรขนาดใหญ่จะดำเนินธุรกิจหลายประเภท ในขณะที่สหกรณ์การเกษตรขนาดเล็กส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจเพียงประเภทเดียวหรือไม่ได้ดำเนินธุรกิจใด ๆ ทั้งสิ้น สหกรณ์การเกษตรมีทุนดำเนินการทั้งสิ้น 1,229,916,151.00 บาท มีมูลค่าธุรกิจสินเชื่อ 1,877,313,727.00 บาท โดยการให้บริการเงินกู้แก่สมาชิกจำนวน 51,960 สัญญา ธุรกิจรับฝากเงินมีมูลค่า 295,849,318.00 บาท ธุรกิจซื้อมียอดจำหน่าย 331,772,730.00 บาท และธุรกิจขายมีมูลค่า 233,852,800.90 บาท


            ในด้านบทบาทของสหกรณ์การเกษตรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพบว่าสหกรณ์การเกษตรมีบทบาทในด้านการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดในด้านการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในด้านการเป็นแหล่งทุนในด้านการรักษาเสถียรภาพราคา ผลิตผลเกษตร และในการสร้างความจำเริญในด้านเศรษฐกิจ


            ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ สหกรณ์การเกษตรควรเลือกดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากกว่าจะขยายประเภทของธุรกิจ โดยเน้นพัฒนาธุรกิจสินเชื่อ และธุรกิจขายผลิตผลเกษตรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิก อีกทั้งการสร้างความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับหลักการสหกรณ์ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการ และสมาชิกของสหกรณ์การเกษตร เพื่อให้เกิดการใช้สหกรณ์การเกษตรในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ, 2541. เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง : ทางรอดของชนบทไทย สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 27ก.ย. - 3 ต.ค.41.
ทองโรจน์ อ่อนจันทร์, 2538. ธุรกิจของสหกรณ์การเกษตร : แนวคิดผลการดำเนินงานและขอบเขตการประชุมทางวิชาการ งานวันสหกรณ์แห่งชาติครั้งที่ 4, 27 - 28 ก.พ. 2538,
สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยร่วมกับภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พวงเงิน ธนะภูมิ และคณะ (2532) การศึกษาผลการดำเนินงานของสหกรณ์นิคมวังทองจำกัด จังหวัดพิษณุโลกปี 2525-2530. กรุงเทพฯ
กรมส่งเสริมสหกรณ์ผลิตภัณฑ์จังหวัดสาขาเกษตรกรรม จังหวัดเชิงใหม่ ฉบับปี 2542, เอกสารสถิติการเกษตร, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ไพลิน ศุกิจวิเลขการ (2539) การสร้างเครือข่ายกระบวนการเรียนรู้ทางธุรกิจสู่สหกรณ์การเกษตร หนังสือพิมพ์สหกรณ์, ก.ค. - ก.ย. 2539. กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
มนตรี กรรพุมมาลย์ (2539) ความต้องการในการประกอบอาชีพ แนวทางส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมของสมาชิกโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กรุงเทพฯ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท.
วินัย จตุทอง และคณะ (2534) สหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง จำกัด อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ : รายงานผลการวิจัย ม.ป.ท :ม.ป.ผ
สถิติการเกษตรของประเทศไทยปีเพาะปลูก 2541/42 ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ. 2542. เอกสารสถิติการเกษตรเลขที่ 10/2543.
สถิติสหกรณ์ในประเทศไทย. 2542. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรมส่งเสริมสหกรณ์ 1 มกราคม 2542
สมเกียรติ วิทิตเวท (2538) “สหกรณ์กับการแก้ปัญหาตลาดสินค้าเกษตร” หนังสือวันสหกรณ์แห่งชาติ สันติบาลสหกรณ์แห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
สมุดรายงานสถิติจังหวัดฉบับ พ.ศ. 2542 สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
อัญชลี เจ็งเจริญ, 2541. “บทบาทของสหกรณ์การเกษตรในการสนองตอบความต้องการของเกษตรกร : ศึกษา เฉพาะกรณีสหกรณ์การเกษตรแจ้ห่ม – เมืองป่าน” วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2:5 (เม.ย.– มิ.ย.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อารีย์ เชื้อเมืองพาน, 2541. “บทบาทของธุรกิจสะสมทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน ภาคเหนือ”. วารสารเศรษฐศาสตร์ 2:5 (เม.ย.–มิ.ย.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่