ผลของอายุผลและสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการสร้างแคลลัสในพืชสกุล <I>Garcinia</I>
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการเพาะเลี้ยงเมล็ดของพืชในสกุล Garcinia 3 ชนิด คือ มังคุด พะวา และส้มแขก ที่แยกจากผล 2,4 และ 6 สัปดาห์หลังดอกบาน บนอาหารสูตร MS (Murashige and Skoog) เติม BA (6-benzyladenine) หรือ TDZ (thidiazuron) ร่วมด้วย 2,4-D (2,4-dichlorophenoxyacetic acid) ความเข้มข้นต่างๆ พบว่าเมล็ดมังคุดจากผลอายุ 2 สัปดาห์หลังดอกบาน ให้การสร้างแคลลัสเฉลี่ยสูงสุด 96.7 เปอร์เซ็นต์รองลงมา คือ เมล็ดพะวาจากผลอายุ 4 สัปดาห์หลังดอกบาน ให้การสร้างแคลลัสเฉลี่ย 74.9 เปอร์เซ็นต์ ส่วนส้มแขกไม่มีการสร้างแคลลัสทุกอายุผล การเพาะเลี้ยงเมล็ดมังคุดที่อายุผลต่างๆ บนอาหารสูตร MS เพิ่ม 2,4-D ร่วมด้วย BA หรือ TDZ ความเข้มข้นต่างๆ พบว่าให้เปอร์เซ็นต์การสร้างแคลลัสไม่ต่างกัน แคลลัสที่ชักนำบนอาหารสูตร MS เติม 2,4-D ร่วมด้วย BA มีลักษณะเป็นแบบ friable ส่วนอาหารเติม 2,4-D ร่วมด้วย TDZ ให้แคลลัสเป็นแบบ compact การย้ายแคลลัสไปเลี้ยงในอาหารสูตร MS เติม 2,4-D ร่วมด้วย BA หรือ TDZ ความเข้มข้นต่างๆ และสูตรควบคุม (MS เติม BA ร่วมด้วย TDZ ความเข้มข้นเท่ากัน 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร) พบว่าเมล็ดมังคุดจากผลอายุ 4 สัปดาห์หลังดอกบานให้การสร้างแคลลัสเฉลี่ยสูงสุด 50.9 เปอร์เซ็นต์ บนอาหารสูตร MS เติม BA ร่วมด้วย TDZ. ความเข้มข้นเท่ากัน 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับการสร้างสารฟีนอลจากการเพาะเลี้ยงพบว่าอาหารเติม BA ส่งเสริมการสร้างสารดังกล่าวจำนวนมากจากชิ้นส่วนเมล็ดจากผลอายุ 2 สัปดาห์หลังจากดอกบานในขณะที่ TDZ ให้ผลในทางตรงข้าม
Article Details
References
สมปอง เตชะโต. 2540. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่องมังคุด (Garcinia mangostana L.) พะวา (Garcinia speciosa all.) และส้มแขก (Garcinia atroviridis Griff.) ว. สงขลานครินทร์, 19 : 147-156.
สมปอง เตชะโต มงคล แซ่หลิม และมณฑา จำเริญรักษ์. 2538. การต่อกิ่งมังคุดที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลองบนต้นตอพะวานอกหลอดทดลอง. ว. สงขลานครินทร์. 17: 245-250.
สมปอง เตชะโต มงคล แซ่หลิม และอรุณี ม่วงแก้วงาม. 2535. การเพิ่มประสิทธิภาพวิธีการเพาะเลี้ยงใบอ่อนมังคุดในหลอดทดสอบเพื่อการขยายพันธุ์. ว. สงขลานครินทร์ 14: 1-7.
สมปอง เตชะโต และนันทนา เอ้งย่อง. 2531. การขยายพันธุ์มังคุดจำนวนมากโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. ว. สงขลานครินทร์ 10: 7-11.
Goh, C. J., Lakshmanan, P and Loh, C.S. 1994. High frequency direct shoot bud regeneration from excised leaves of mangosteen (Garcinia mangostana L.). Plant Science 101 : 173-180.
Lim, M., T. Hemapat, W. Wanachit and P. Suwankiri 1986. Survey and collection of Lansium and Garcinia in Southern Thailand. IBPGR Newsletter 10 :10-12.
Normah, N.M. 1992. Micropropagation of mangosteen (Garcinia mangostana L.) through callus and multiple shoot formation. In Biotechnology for Forest Tree Improvement. (eds R.C. Ummaly, S.S. Tjitrosomo and N.M. Normah) pp. 81-86, Borgor : Seameo Biotrop.
Normah, N. M., A.B. Nor-Azza and R. Aliudin. 1995. Factors affecting in vitro shoot proliferation and ex vitro establishment of mangosteen. Plant Cell, Tissue and Organ Culture 43 : 291-294.
Te-chato, S., M. Lim and P. Suranilpong. 1995a. Embryogenic callus induction in mangosteen (Garcinia mangostana L.) Songklanakarin J. Sci. Technol. 17 : 115-120.
Te-chato, S., Lim, M. and P. Suranilpong. 1995b. Types of medium and cytokinins in relation with purple leaf and callus formation of mangosteen. Songklanakarin J. Sci. Technol. 17 : 121-127.