งานวิจัยชีวโมเลกุลกับการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน

            ถ้าเอ่ยถึงงานวิจัยเชิงชีวโมเลกุล ผลิตผลที่ได้ที่เรารู้จักกันดีคือ GMOs ถึงแม้ว่าผลิตผลนี้จะเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยที่เราได้รับจากการพัฒนาวิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพก็ตาม แต่คำว่า GMOs กลายเป็นคำที่บุคคลทั่วไปคุ้นเคยและส่งผลกระทบค่อนข้างมาก ทั้งเชิงบวกที่ทำให้ประชาชนหันมาให้ความสนใจกับงานค้านวิทยาศาสตร์เกษตรมากขึ้น และผลเชิงลบที่ทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการส่งสินค้าออก หรือนำเข้า ต้องประสบอุปสรรคด้านการตลาดพอสมควร ไม่ว่าจะส่งผลเชิงบวกหรือเชิงลบงานวิจัยชีวโมเลกุลของประเทศไทยก็ยังคงต้องเดินหน้าต่อไป เพราะเป็นงานที่จะทำให้เกิดความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีอีกคุณูปการ  และกระแสพัฒนาวิทยาศาสตร์ของโลกก็ยังมุ่งเน้นงานวิจัยเชิงนี้กันอีกต่อไป มีการพูดกันว่า ยุคปัจจุบันเป็นยุคของ IT แต่ในยุคหน้าจะเป็นยุคของ Biotechnology

            เมื่อไม่นานมานี้  ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์กับคณบดี คณะทรัพยากรชีวภาพ (เปลี่ยนชื่อไปจากคณะเกษตรศาสตร์ ตามสมัยนิยม) ของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตลอดเวลา 15 ปีที่ผ่านมาได้ทุ่มเทพัฒนางานวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพค่อนข้างมาก ท่านได้เล่าประสบการณ์ว่าในช่วงที่ผ่านมานักวิจัยและครูอาจารย์ในประเทศญี่ปุ่นดำเนินงานวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพกันมาก ทั้งนี้เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่หาแหล่งทุนสนับสนุนได้ง่าย ผลงานวิจัยสามารถรวบรวมเพื่อตีพิมพ์ได้ในระยะเวลาอันสั้น มีแหล่งวารสารให้ตีพิมพ์เผยแพร่ได้มาก และมีเวทีการประชุมทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติจำนวนมากให้นำผลงานไปเผยแพร่เพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานตามเงื่อนไขสำหรับการขอตำแหน่งทางวิชาการ แต่ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเงินทุนที่ทุ่มเทลงไป ทั้งเพื่อจัดซื้อเครื่องมือที่ซับซ้อนและค่าสารเคมีราคาแพง ต้องยอมรับว่าผลงานแต่ละชินราคาต้นทุนแพงมาก  นอกจากจากนี้ในกรณีของ GMOs ผลผลิตก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มลูกค้า จนถึงขั้นมองว่าเป็นความล้มเหลวของการพัฒนา

            เมื่อมองในส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตัวนักวิจัยรุ่นใหม่เอง หรือกับตัวนักศึกษางานวิจัยเชิงลึกและอยู่เพียงในระดับหลอดทดลองดังกล่าวได้บ่มฟักให้นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้มองปัญหาแคบลงขาดวิสัยทัศน์เชิงสหวิทยาการ เข้าใจธรรมชาติน้อยลง เข้าใจสังคมน้อยลง ซึ่งขณะที่ในสภาพความเป็นจริงของการผลิตทางการเกษตร นอกเหนือจากยีน เกษตรกรยังต้องผูกติดอยู่กับปัจจัยแวดล้อมทางด้านภูมิอากาศและการจัดการเพาะปลูกอีกมาก ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยเหล่านี้จะทำให้นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ปัญหาของเกษตรกรได้อย่างถ่องแท้มากขึ้น  อันจะนำไปสู่การหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องและตรงประเด็นได้ดียิ่งขึ้น

            ในที่สุดของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เราก็ได้ข้อสรุปร่วมกันว่างานวิจัยเชิงชีวโมเลกุลเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรต้องดำเนินงานต่อไปเพียงแต่ผู้วิจัยเองจะต้องไม่ละพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อมกับชีววิทยาและเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ของการเกษตรให้ถ่องแท้เสียก่อน จึงจะทำให้งานวิจัยไม่หลงทางและอาจจะประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณวิจัยได้อีกมากด้วย

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-09

การเจริญเติบโตและการพัฒนาตาดอกของฟรีเซีย

โสระยา ร่วมรังษี, สืบศักดิ์ เสนาวงศ์, จิราภรณ์ ยังอยู่ดี, อดิศร กระแสชัย

10-16

การใช้เถ้าลิกไนต์เป็นวัสดุปักชำ

ปิยนุช ปิยะตระกูล, อดิศร กระแสชัย, พีระพล โพธิ์ทอง

17-24

ข้อสังเกตการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อราในลูกเดือยที่พบในประเทศไทย

นพาภรณ์ ปัญจะ, ดวงจันทร์ สุประเสริฐ, ทัศนีย์ จุฬามกรกต

25-30

สัณฐานวิทยาโครโมโซมของข้าวเหนียวดำ

สุณิสา สุนะรินทร์, ดำเนิน กาละดี, ฉันทนาสุ วรรณธาดา

46-52

แหล่งพันธุกรรมของความทนทานต่อการขาดธาตุโบรอนในข้าวบาร์เลย์

ศันสนีย์ จำจด, ปณิตา บุญสิทธิ์, เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม

53-64

การสำรวจปริมาณศัตรูพืชในระบบการปลูกกาแฟกลางแจ้งและภายใต้ร่มเงา

นิธิ ไทยสันทัด, ธีระเดช พรหมวงศ์, นริศ ยิ้มแย้ม, วราพงษ์ บุญมา, ประเสริฐ คำออน

65-77

ผลของระดับกากเบียร์แห้งในอาหารต่อผลผลิตและองค์ประกอบของน้ำนมในโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน

ปราโมทย์ แพงคำ, สาทิสรัตน์ พรหมขันธ์, สหัส นุชนารถ, วิโรจ สินตะละ

83-91