ผลของสารเคมี Oxamyl, Fenamiphos และ Carbofuran ต่อปริมาณไส้เดือนฝอยศัตรูพืชที่สำคัญในสวนลำไยที่เป็นโรคหงอย

Main Article Content

จริยา วิสิทธิ์พานิช
ภมรทิพย์ อักษรทอง
ชาตรี สิทธิกุล
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง

บทคัดย่อ

ชนิดของไส้เดือนฝอยศัตรูพืชที่พบมากที่สุดจากดินบริเวณรากของต้นลำไยที่แสดงอาการหงอย คือ Rolenchulus venifornis ซึ่งมีประมาณ 80% ของไส้เดือนฝอยศัตรูพืชทั้งหมด จากการทดลองใช้สารเคมีกำจัดไส้เดือนฝอยในสวนลำไยที่แสดงอาการหงอย ในจังหวัดเชียงใหม่ 1 สวน และสวนในจังหวัดลำพูน 2 สวนโดยเลือกสารเคมีกำจัดไส้เดือนฝอยศัตรูพืช 3 ชนิด คืออ๊อกซามิล (oxamyl) อัตรา 4.32 ลิตรของสารออกฤทธิ์ (a.i) ต่อไร่ ผสมน้ำราดทั่วพื้นที่ 900 ตารางเมตร 1 ครั้ง ฟีนามิฟอส (fenamiphos) 320 กรัมของสารออกฤทธิ์ (a.i) ต่อไร่ และคาร์โบฟูราน (carbofuran) อัตรา 320 กรัมของสารออกฤทธิ์ (a.i) ต่อไร่ ผสมทรายแห้งแล้วหว่านทั่วพื้นที่ทดลอง 900 ตารางเมตร 1 ครั้งเช่นเดียวกัน จากการเก็บตัวอย่างดินไปตรวจนับ 5 -7 ครั้งหลังจากการใช้สารเคมีพบว่า ปริมาณของไส้เดือนฝอยไม่ลดลงและมีความแปรปรวนสูงทุกกรรมวิธี และสารเคมีทั้งสามชนิดไม่สามารถลดประชากรไส้เดือนฝอย R reniformis ลงได้ในช่วงเวลาที่ทดลอง 4 - 5 เดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา วิสิทธิ์พานิช. 2543. โรคและแมลงศัตรูลำไย. ธนบรรณการพิมพ์, เชียงใหม่. 108 หน้า.
ชาตรี สิทธิกุล จริยา วิสิทธิ์พานิช และวิชชา สอาดสุด. 2539. การแพร่กระจาย และความเสียหายของลำไยที่เป็นโรคหงอยในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน หน้า 104-114.
Aragaki, M., Apt. W.i., Kumimoto, R.K., KO.W.H. , and U chida, J.Y. 1984. Nature and control anthurium decline. Plant Disease 68 : 509-511.
Birchfield, W. 1971. Systemic nematicides control Rotylenchulus reniformis of cotton. Plant Disease Reptr. 55 : 362-365.
Di Sanzo, C.P. and R.a. Rohde. 1968. Xiphenema americanum associated with maple decline in Massachusetts. Phytapathology. 59 : 279-284.
Sipes, B.S. and D.P. Schmitt. 1996. Control of Rotylenchulus reniformis on Pineapple with Emulsifiable 1, 3-Dischloropropene. Plant Disease. 571-574.