การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้านการวิจัยภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัด   : เครื่องมือ คน และ งบประมาณ

            เมื่อไม่นานมานี้ได้มีโอกาสร่วมในคณะกรรมการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติศูนย์หนึ่งศูนย์ฯ ดังกล่าวต้องถูกตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศ ซึ่งผู้ประเมินเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 2 ท่าน (เป็นคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ 1 ท่าน) จากองค์กรอิสระในประเทศสหรัฐอเมริกา  ที่มีประสบการณ์สูงในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารองค์กร จำนวน 1 ท่าน และจากหน่วยงานสนับสนุนงบประมาณวิจัยภายในประเทศอีก 1 ท่าน

ถึงแม้ผลการประเมินในภาพรวมจะผ่านไปได้ แต่คณะผู้ประเมินได้ให้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจหลายประเด็น  จึงใคร่ขอนำเสนอเพื่อเป็นแนวคิดสำหรับการพัฒนางานวิจัยของหน่วยงานภายใต้นโยบาย จำกัดกำลังคน และการลดงบประมาณทางด้านจัดซื้อครุภัณฑ์ และวัสดุวิจัย อย่างเช่นในปัจจุบัน  ดังนี้

1. ทุกมหาวิทยาลัยและสถาบันที่ร่วมอยู่ในศูนย์ความเป็นเลิศแห่งนี้  มีหัวข้อวิจัยมากแต่กระจัดกระจายเกินไป  ทำให้ผลการวิจัยไม่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิต  และการแก้ไขปัญหาของประเทศ

2.ลักษณะการดำเนินงานวิจัยในปัจจุบันยังเป็นการวิจัยเพื่อตอบคำถามในเชิงวิชาการมากเกินไปลักษณะโจทย์ของงานวิจัยยังเป็นคำว่า “Why” ในอนาคตงานวิจัยควรเป็นงานวิจัยเพื่อตอบคำถามในเชิงพัฒนาให้มากขึ้น (คำถามประเภท “How”) โจทย์คำถามที่ดีน่าจะเป็น Hypothesis-driven research based

3.เพื่อแก้ไขปัญหาข้อจำกัดด้านคน เครื่องมือ และเทคนิค ตลอดจนต้นทุนวิจัย การรวมกลุ่มสถาบันและคนเพื่อร่วมมือในลักษณะเป็น Consortium ที่มีเป้าหมายการวิจัยร่วมกัน ควรจะเป็นแนวทางที่ถูกนำมาใช้ให้เต็มประสิทธิภาพ

ข้อเสนอแนะเหล่านี้ไม่ใช่ของใหม่ นักวิจัยเราพูดกันบ่อยครั้งในหลายเวที ปัญหามีเพียงว่า “เราจะเริ่มกันอย่างไรดี ???”

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-09

ผลของการควันกิงต่อการออกดอกของลำไยพันธุ์เพชรสาครทะวาย

พาวิน มะโนชัย, วรินทร์ สุทนต์, วินัย วิริยะอลงกรณ์, เสกสันต์ อุสสหตานนท์ , นพดล จรัสสัมฤทธิ์

117-123

ผลของสารเคมี Oxamyl, Fenamiphos และ Carbofuran ต่อปริมาณไส้เดือนฝอยศัตรูพืชที่สำคัญในสวนลำไยที่เป็นโรคหงอย

จริยา วิสิทธิ์พานิช, ภมรทิพย์ อักษรทอง, ชาตรี สิทธิกุล, เยาวลักษณ์ จันทร์บาง

124-135

การปรับปรุงพันธุ์เห็ดฟางโดยการผสมพันธุ์

ขนิษฐา พรเจริญโรจน์, วิเชียร ภู่สว่าง

148-157

ผลของเวลาปลูกต่อการออกดอกของฟรีเซีย

โสระยา ร่วมรังษี, สืบศักดิ์ เสนาวงค์

170-176

สัณฐานวิทยาของดอกว่านแสงอาทิตย์

เอกรัตน์ สามัตถิยะ, ฉันทนา สุวรรณธาดา

184-188