การปรับปรุงพันธุ์เห็ดฟางโดยการผสมพันธุ์

Main Article Content

ขนิษฐา พรเจริญโรจน์
วิเชียร ภู่สว่าง

บทคัดย่อ

การเลี้ยงเส้นใยเห็ดฟางในอาหารเหลวเป็นเวลา 20 วัน ให้น้ำหนักแห้งของเส้นใยมากที่สุด ส่วนการ sub culture ครั้งที่ 12 จะให้น้ำหนักแห้งมากที่สุดแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ โดยแต่ละ sub culture จะเลี้ยงเส้นใยเป็นระยะเวลา 20 วัน อย่างไรก็ตามผลผลิตของเห็ดฟางจะลดลงหลังจาก sub culture ครั้งที่ 8 เห็ดฟางสองพันธุ์ที่ใช้ (V1 และ V6) นำมาจากกรมวิชาการเกษตร และได้มีการแบ่งการเจริญของเส้นใยสปอร์เดี่ยว 24 สายพันธุ์จากพันธุ์ V1 และ 23 สายพันธุ์ จากพันธุ์ V6 ออกเป็นเจริญเร็ว เจริญปานกลาง และเจริญช้า คัดเลือกสายพันธุ์สปอร์เดี่ยวที่เจริญเร็วและช้าอย่างละ 4 สายพันธุ์ ของแต่ละพันธุ์ เพื่อนำมาผสมพันธุ์ได้ 64 คู่ผสมมี 18 คู่ผสมที่เกิด primodia และมีเพียง 14 คู่ผสมที่สามารถเกิดดอกเห็ดได้ ลูกผสมหนึ่งสายพันธุ์ที่มีผลผลิตสูงที่สุดจะให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์ V6 แต่ไม่แตกต่างจากพันธุ์ V1 และพันธุ์การค้า(จักรพันธุ์) ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างน้ำหนักแห้งของเส้นใยและผลผลิต คือสายพันธุ์ที่ให้น้ำหนักมากที่สุดไม่ได้เป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด ไซโมแกรม esterase และ acid phosphatase ไม่สามารถใช้ในการกำหนดศักยภาพในการให้ผลผลิตของสายพันธุ์ลูกผสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจนฟาง ถิรกันทร. 2540. การพัฒนาวัสดุเพาะและการเปรียบเทียบผลผลิตของเห็ดนางรมลูกผสม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)สาขาวิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 77 น.
ปัญญา โพธิ์ฐิติรัตน์. 2532. เทคโนโลยีการผลิตเห็ด. ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ. 590 น.
สุวรรณี จันทร์ตา และ วิเชียร ภู่สว่าง. 2539. การคัดเลือกโมโนคาริออนของเห็ดนางรมเพื่อการผสมพันธุ์. วารสารเกษตร 12(3): 279-290.
สุวรรณี จันทร์ตา. 2540. การคัดเลือกโมโนคาริออนของเห็ดนางรมเพื่อการผสมพันธุ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)สาขาวิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 77 น.
Chang, S.T. 1972. The Chinese Mushroom. The Chinese University of Hong Kong, Hong Kong. 89 p.
Chang, S.T. 1982. Sexuality and strain improvement in edible mushroom. Mushroom Newsletter for The tropics. 6(1): 2-6.
Chang, S.T., and C.K. Yau, 1970. A simple technique for indoor cultivation of straw mushroom. Mushroom News 18, 9-11.
Chang, S.T., and C.K. Yau, 1971. Volvariella volvacea and its life history. Am. J. Bot. 58, 552-561. Graham, K.M. 1975. Studies on the padi mushroom (Volvariella volvacea). V. Performance of singgle-basidiospore isolates. Malay. Agric. Res. 5 : 31-36.
Kalra, R.; R.P. Phutela, and H.S. Sodhi, 1999. Studies on growth of Volvariella diplasia. Horticultural Abstracts. Vol. 69(1): 80
Simpson, M.J.A. and L.A. Withers, 1986. Characterization of plant genetic resources using isozyme electrophoresis: A Guide to the Literature. BPGR, Rome. 102 p.
Zervakis, G.; Sourdis, J. and Balis, C. 1994. Genetic variability and systematic of eleven Pleurotus species based on isozyme analysis. Mycol. Res. 98(3). 329-341.