ความหนาแน่นต่อหน่วยพื้นที่ของต้นกาแฟอราบิก้าที่เหมาะสม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบความหนาแน่นของต้นกาแฟอราบิก้าที่เหมาะสมต่อหน่วยพื้นที่ โดยใช้พันธุ์กาแฟ อราบิก้า 3 สายพันธุ์คือ แคทูร่า (eatura) คาติมอร์ (catimor) และทิปปิก้า (typica) ทำการปลูกที่ความหนาแน่น 3 ระดับคือ 400, 700 และ 1,000 ต้นต่อไร่ หลังจากทำการทดลองเป็นเวลา 5 ปี พบว่า การใช้สายพันธุ์และความหนาแน่นที่แตกต่างกัน จะทำให้สภาพแวดล้อมแตกต่างกันออกไป โดยจะทำให้พลังงานแสงที่ต้นกาแฟได้รับความสัมพันธ์ไปในทางตรงกันข้าม กับความหนาแน่นที่สูงขึ้น ส่วนความชื้นของดินที่ระดับความลึกต่างๆ จะมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันกับความหนาแน่น ในด้านการเจริญเติบโตพบว่า สายพันธุ์ทิปปิก้า โดยเฉพาะที่ความหนาแน่น 1,000 ตันต่อไร่ จะให้ความสูงของลำต้นและเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มที่เพิ่มขึ้นมากกว่าวิธีอื่น ๆ ส่วนจำนวนกิ่งแขนงที่ 1 พบว่าสายพันธุ์แคทูร่าที่ความหนาแน่น 700 ต้นต่อไร่ จะให้มากที่สุด ในขณะที่สายพันธุ์คาติมอร์ที่ความหนาแน่น 1,000 ต้นต่อไร่ จะให้ค่าดัชนีพื้นใบที่มากที่สุด ส่วนขององค์ประกอบของผลผลิต พบว่าสายพันธุ์คาติมอร์ที่ความหนาแน่น 700 ต้นต่อไร่ จะให้สูงที่สุด ทั้งในด้านของจำนวนกิ่งแขนงที่ 1 ที่ให้ผลผลิต จำนวนข้อต่อกิ่ง ผลต่อข้อ และน้ำหนักสุดของกาแฟ 100 ผล แต่น้ำหนักของสารกาแฟที่ได้จาก 100 ผลสดสายพันธุ์ทิปปิก้าที่ความหนาแน่น 400 ต้นต่อไร่ จะให้สูงที่สุด ด้านของน้ำหนักผลผลิตสด และสารกาแฟรวมต่ต้นนั้น พบว่าสายพันธุ์คาร์ติมอร์ที่ความหนาแน่น 700 ต้นต่อไร่ จะให้มากที่สุดถึง 9,207.3 กรัม และ 1,84.5 กรัมตามลำดับ สำหรับในด้านของต้นทุนและผลตอบแทนในแต่ละกรรมวิธี พบว่าทุกสายพันธุ์ที่ความหนาแน่น 1,000 ต้นต่อไร่ จะใช้ต้นทุนสูงที่สุด คือ 55,900 บาทต่อไร่ ส่วนผลตอบแทนสุทธินั้น พบว่าสายพันธุ์คาติมอร์ที่ความหนาแน่น 1,000 ต้นต่อไร่ จะให้ผลตอบแทนสูงสุด คือ 63,134 บาทต่อไร่รองมาได้แก่ สายพันธุ์คาติมอร์ที่ความหนาแน่น 700 ต้นต่อไร่ คือ 60,446 บาทต่อไร่ ส่วนต้นทุนในการผลิตต่อหน่วยต่ำที่สุด คือ กรรมวิธีที่ใช้พันธุ์คาร์ติมอร์ที่ความหนาแน่น 700 ต้นต่อไร่ คือ 32.14 บาทต่อการผลิตสารกาแฟ 1 กิโลกรัม
Article Details
References
พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ สุนันท์ ละอองศรี และธีรภัทร สันติเมธินีดล. 2531. จากฝิ่นสู่กาแฟ. โรงพิมพ์ดารารัตน์.เชียงใหม่. หน้า 69.
วรวิทย์ ประภาวิทย์. 2531. การศึกษาพฤติกรรมของปากใบในสภาพแวดล้อมต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.สาขาวิชาพืชสวน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 68 หน้า.
อักษร เสกธีระ และพงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์. 2537. การปลูกและผลิตกาแฟอราบีก้าบนที่สูง. ศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 215 หน้า.
Akunda, E.M.W. and D. Kumar. 1979. Effect of leaf water potential on leaf growth. Ann.Rep.Ruiru. 1978/1979.
Browning G. and N. M. Fisher. 1976. High density coffee: Yield results for the first cycle from systematic Plant spacing designs. Kenya Coffee. 41(483): 209-217.
Browning, G. and N. M. Fisher. 1979. Shoot growth in Coffea arabica L. Il growth flushing stimulated by irrigation J. Hotr Sci. 50: 207-218
Cannell, M. G. R. 1971. Seasonal pattens of growth and development of arabica coffee in Kenya.Part III Changes in the photosynthetic capacity of the trees. Kenya Coffee 36: 68-74.
Cannell, M. G. R. 1985. Physiology of the Coffee Crop.In M.N. Clifford and K.C. Willson (eds.). Coffee : Botany, Biochemistry and Production of Beans and Beverage. AVI Pub. Comp. Inc. Inc. Connecticut.
Gatharra, M. P. H. and J. M. Kiara. 1990. Density and fertilizer requirement of the compact and disease resistant arabica coffee. Kenya Coffee, 55(646): 907-910.
Ramalbo, J. C., T. I. Pons, H.W. Groeneveld and M. A. Nunes. 1997. Photosynthetic responses of coffee arabica leaves to a shortterm high light exposure in relation to N avaibility. Physiol. Plant. 101 (1): 229-239
Wrigley, G. 1988. Coffee. John Wiley and Sons Inc., New York. 630 p.