คุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของผลสตรอเบอรี่หลังการเก็บเกี่ยว

Main Article Content

สมคิด ใจตรง
ดนัย บุณยเกียรติ

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา คุณสมบัติทางกายภาพ และส่วนประกอบทางเคมีของผล   สตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 50 และ 70 พบว่าสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 50 มีสีผิวและสีเนื้อเป็นสีแดงแสดถึงแดงเข้ม มีเมล็ดสีเหลืองอมเขียวเหลืองถึงแดง และมีลักษณะเมล็ดจมอยู่ในผิวผล ในขณะที่พันธุ์พระราชทาน 70 มีผิวสีแดงอมส้ม และมีสีเนื้อขาวปนส้ม เมล็ดสีชมพู ส้มถึงแดงและเมล็ดมีลักษณะจมลงไปในผิวผล เมื่อเก็บเกี่ยวในระยะสีผิวเปลี่ยนเป็นสีแดง 75 เปอร์เซ็นต์ ผลสตรอเบอรี่ทั้งสองพันธุ์มีรูปร่างผลส่วนใหญ่เป็นทรงแหลม พันธุ์พระราชทาน 70มีรูปร่างค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดฤดูกาล ในขณะที่พันธุ์พระราชทาน 50 ช่วงต้นฤดูมีรูปร่างแบบลิ่มยาวแต่ปลายฤดูมีรูปร่างทรงยาวมีคอ ผลสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 50 และ 70 ที่ระยะผิวเป็นสีแดง 25 50 และ 75 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณวิตามินซีใกล้เคียงกัน โดยผันแปรจาก 41.94 ถึง 44.86 มก./100 ก. ปริมาณน้ำตาลรีดิวซิ่งของผลสตรอเบอรี่ทั้งสองพันธุ์สูงกว่าน้ำตาลซูโครสและพันธุ์พระราชทาน 70 มีน้ำตาลทั้งหมดและปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ สูงกว่าพันธุ์พระราชทาน 50 แต่มีปริมาณกรดที่ไตเตรตได้และความแน่นเนื้อต่ำกว่าพันธุ์พระราชทาน 50 ในทุกระยะของการสุก ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบต่อผลสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 70 มากกว่าพันธุ์พระราชทาน 50 อัตราการหายใจของผลสตรอเบอรี่ทั้งสองพันธุ์ที่ระยะสีผิวเปลี่ยนเป็นสีแดง 25 และ 50 เปอร์เซ็นต์ระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง นาน 1 วันไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกมณฑล ศรศรีวิชัย. 2526. การเก็บรักษาผลผลิตการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว : เทคโนโลยี และสรีรวิทยา. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 116 น.
จริงแท้ ศิริพานิช. 2541. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 396 น.
ชูพงษ์ สุกุมลนันทน์. 2531. สตรอเบอรี่. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 216 น.
ณรงค์ชัย พิพัฒธนวงศ์. 2542. การปลูกสตรอเบอรี่ในประเทศไทย. ข่าวสารเกษตรศาสตร์ 44(4) : 63-75.
ดนัย บุณยเกียรติ. 2540. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของพืชสวน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 222 น.
ดนัย บุณยเกียรติและนิธิยา รัตนาปนนท์. 2535. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 142 น.
เนียน คุ้นวงค์. 2541. คำแนะนำที่ 106 เรื่องสตรอเบอรี่. พิมพ์ครั้งที่ 2. ฝ่ายเอกสารคำแนะนำ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 36 น.
ทองใหม่ แพทย์ไชโย. 2541. คุณภาพทางกายภาพและเคมีหลังการเก็บเกี่ยวผลสตรอเบอรี่. วิทยานิพนธ์วิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 113 น.
สายชล เกตุษา. 2528. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 364 น.
อรรณพ วราอัศวปติ. 2532. เทคโนโลยีและสรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของผลไม้และผักสด. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 359 น.
Gonzalea, A.M.L., J.M.C. Sixto, S.G.Barron., G.M.Soto and J.R. Robles. 1995. Strawberry quality in relation to postharvest handing. Hort. Abstr. 65 (12): 1361.
Kosiyachinda, S., M. Kosittrakul, S. Ketsa, V.Vangnai, P.Tong-Umpai and K. Vanichkul. 1984. Harvesting indices of strawberries in Thailand. Kasetsart Journal 18 : 92-98.
Mapson, L.W. 1970. Vitamins in fruits. p. 369-384. In Hulme, A.C. (ed.). The Biochemistry of Fruits and Their Products. Vol. 1. Academic Press, London.
Mazza, G. and E. Miniati. 1993. Anthocyanins in Fruits, Vegetables and Grains. CRC Press, Boca Raton. 327 p.
Miszczak, A., C.F. Forney and R.K. Prange. 1995. Development of aroma volatiles and color during posharvest ripening of “Kent” strawberries. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 120 (4): 650-665.
Montero, M. T., M. E. Moll'a, M. R. Esteban and J. F.
Lo’pez-Andr’eu. 1996. Quality attributes of strawberry during ripening. Scientia Hort. 65 : 239-250.
Salunkhe, D.K. and B.B. Desai. 1986. Postharvest Biotechnology of Fruits. 2nd. Vol. 2. CRC Press Inc., Boca Raton, Florida. 137 p.
Whiting, G.C. 1970. Sugars. p.1-27. In Hulme, A.C. (ed.). The Biochemistry of Fruits and Their Products. Vol. 1. Academic Press, London.