การจำแนกพันธุ์ลูกผสมสตรอเบอรีโดยวิธีสัณฐานวิทยาและอิเล็กโทรโฟรีซิส

Main Article Content

ปราโมทย์ คำนวล
เกศิณี ระมิงค์วงศ์

บทคัดย่อ

การจำแนกสตรอเบอรี่พันธุ์ลูกผสม CMU 025 x CMU 035 และหาความสัมพันธ์ของพันธุ์แม่ พ่อและลูกผสมชั่วที่ 1 โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานด้วยการสังเกตและวัดค่าทางปริมาณรวมทั้งคุณภาพของโครงสร้างใบ ดอก และผล ทำให้แยกความแตกต่างระหว่างพันธุ์ได้ชัดเจน โดยใช้ลักษณะของความแน่นทรงพุ่ม สีก้านใบด้านบน รูปร่างใบย่อยกลางฐานใบย่อยกลาง รูปร่างหูใบ รูปร่างผล และตำแหน่งเมล็ด


            วิธีอิเล็กโทรโฟรีซิสทำโดยศึกษารูปแบบเอนไซม์ leucine aminopeptidase (LAP), esterase (EST) และ shikimic dehydrogenase (SKDH) พบว่าการใช้รูปแบบเอนไซม์ EST ร่วมกับ LAP สามารถจำแนกได้ 4 พันธุ์ กับ 3 กลุ่ม โดย EST พบ 7 รูปแบบมีแถบเอนไซม์ 9 แถบ และ LAP พบ 2 รูปแบบ มี 4 แถบ การใช้เอนไซม์ EST ร่วมกับ LAP สามารถจำแนกลูกผสมบางเบอร์ออกจากพันธุ์แม่หรือพันธุ์พ่อ หรือระหว่างลูกผสมด้วยกันเองออกจากกันได้ แต่ไม่ทั้งหมด ส่วนเอนไซม์ SKDH แสดงออก 1 แถบ ซึ่งไม่เหมาะสมในการทำอิเล็กโทรโฟรีซิสของสตรอเบอรี่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศิณี ระมิงค์วงศ์. 2528. การจัดจำแนกไม้ผล. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 289 น.
ชวนพิศ อรุณรังสิกุล. 2538. เทคนิคการตรวจ สอบและจำแนกพันธุ์พืชด้วยการใช้ Isozyme pattern, น.16-30. ใน เอกสารประกอบการ ฝึกอบรมทางวิชาการการตรวจสอบสายพันธุ์ด้วยการใช้ Isozyme pattern และ RAPD. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน, นครปฐม.
เพิ่มพงษ์ ศรีประเสริฐศักดิ์. 2531. เทคนิคทางอิเล็กโทรโฟรีซิสในการจำแนกพันธุ์พืช, น. 17-33. ใน เอกสารประกอบการฝึกอบรม ทางวิชาการ เทคนิคทางอิเล็กโทรโฟรีซิสในการจำแนกพันธุ์พืช. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
วชิรญา อิ่มสบาย. 2537. การเปรียบเทียบพันธุ์สตรอเบอรี่ในสภาพพื้นที่ราบ. ปัญหาพิเศษ ภาควิชาพืชสวนคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 54 น.
สมิต บุญเสริมสุข และ ประวิทย์ จิตต์จำนงค์. 2533. การศึกษา isozyme กับพรรณไม้ป่า. วนสาร 48(1): 20-24.
เสนาะ บุญมี. 2528. อนุกรมวิธานและสัณฐาน วิทยาของพืช. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทราวิโรฒ(มหาสารคาม), มหาสารคาม. 159 น.
อาภัสสรา ชมิดท์. 2537. เทคนิคทางอิเล็กโทรโฟรีซิส. ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 86 น.
Bell, J. A. and D.W. Simpson. 1994. The use of isozyme polymorphisms as an aid for cultivar identification in strawberry. Euphytica 77:113-117.
Sokal, R. R. and P. H. A. Sneath. 1973. Principles of Numerical Taxonomy. Freeman, San Francisco. 573 p.