การเปลี่ยนแปลงปริมาณของสารคล้ายจิบเบอเรลลินในช่วงก่อนการแตกใบอ่อนและออกดอกในยอดลำไยพันธุ์ดอ

Main Article Content

จงรักษ์ มูลเฟย
ธนะชัย พันธ์เกษมสุข

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงปริมาณของสารคล้ายจิบเบอเรลลินในช่วงก่อนการแตกใบอ่อนและออกดอกในยอดลำไยพันธุ์ดอ โดยวิธี Rice Secondary Leaf Sheath Bioassay (RSLSB) กับข้าวพันธุ์แพร่ 1 พบว่าปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินเพิ่มสูงขึ้นในช่วงก่อนการแตกใบอ่อน ในขณะที่ปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินลดต่ำลงในช่วงก่อนการออกดอก ในด้านการศึกษากายวิภาคพบว่า apical meristem มีการพัฒนาไปเป็นช่อดอกอ่อนในสัปดาห์ที่ 2 ก่อนการออกดอกและพบตำแหน่ง Rf ของสารคล้ายจิบเบอเรลลินของยอดลำไยที่มี activity สูงอยู่ใน Rr ที่ 0.3-0.8 นอกจากนี้ความยาวยอดลำไยที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาวิเคราะห์หาปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลิน คือ 10 เซนติเมตร โดยสามารถเก็บรักษาตัวอย่างยอดลำไยไว้ที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียสได้นานถึง 5 เดือน โดยที่ไม่มีผลต่อปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินที่วิเคราะห์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลทินี ผิวนิล. 2542. วิธีการวิเคราะห์และการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินในช่วงก่อน การแตกใบอ่อนในยอดลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยและมะปรางพันธุ์ทูลเกล้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 90 น.
ชัยวัฒน์ พจนาพิมล. 2542. การวิเคราะห์และการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายไซโตไคนินในช่วงก่อนการออกดอกในยอดลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 121 น.
ธนัท ธัญญาภา. 2538. หลักการทำสวนไม้ผล. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 118 น.
นพพร บุญปลอด. 2539. การเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินในยอดลำไยพันธุ์ดอก่อนการออกดอก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 62 น.
พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์, ดุษฎี ณ ลำปาง และรำไพพรรณ อภิชาติพงศ์ชัย. 2542. ลำไย : ไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่. 137 น.
พาวิน มะโนชัย. 2543. ลำไย. สาขาไม้ผล ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่. 115 น.
พิชัย สราญรมย์. 2532. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับลำไยเพื่อการศึกษาระดับปริญญา. วิทยาลัยรำไพพรรณีจันทบุรี. 271 น.
พีรเดช ทองอำไพ. 2537. ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์: แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. วิชัย การพิมพ์, กรุงเทพฯ. 196 น.
โรจน์รวี ภิรมย์. 2538. การศึกษาวิธีการวิเคราะห์หาปริมาณสารคล้ายไซโตไคนินในยอดลำไยพันธุ์ดอ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 138 น.
วรรณวรางค์ พัฒนะโพธิ์. 2542. วิธีการวิเคราะห์และการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลิน ในช่วงก่อนการออกดอกในยอดลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยโดยวิธีRice Micro-drop Bioassay. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 84 น.
วันทนา ทองเล่ม. 2543. การเปลี่ยนแปลงปริมาณของเอทธิลีนและคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่โครงสร้างในช่วงก่อนการออกดอกของยอดลำไยพันธุ์ดอ ลิ้นจีพันธุ์ฮงฮวยและมะปรางพันธุ์ทูลเกล้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 88 น.
สำนักงานเกษตรภาคเหนือ. 2534. สรุปสถานการณ์ ลำไยและแนวทางการพัฒนา. นำเสนองานประชุม. ‘คณะอนุกรรมการวิจัยและพัฒนา การผลิตการตลาด ลำไยภาคเหนือ’ 8 กรกฎาคม 2534. 66 น.
สุรนันต์ สุภัทรพันธุ์. 2521. สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 107 น.
Chen, W.S. 1990. Changes in cytokynin before and during earing flowering bud differentiation in lychee (Litchi chinensis Sonn.). Plant Physiol. 96 : 1203-1206.