อิทธิพลต้นตอมะม่วงทะวายต่อความหนาแน่นสโตมาตาของกิ่งพันธุ์ดี

Main Article Content

เสริมสกุล พจนการุณ
ตระกูล ตันสุวรรณ

บทคัดย่อ

อิทธิพลของต้นตอมะม่วงทะวายพันธุ์โชคอนันต์ ที่มีต่อความหนาแน่นสโตมาตาของกิ่งพันธุ์ดีพิมเสนมัน, เขียวเสวย และน้ำดอกไม้ เปรียบเทียบกับต้นตอแก้วและโชคอนันต์ที่เสียบบนต้นตอแก้ว ที่ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2543 โดยใช้วิธีการพิมพ์ด้วยยางซิลิโคนพบว่า พิมเสนมัน บนต้นตอโชคอนันต์มีความหนาแน่นสโตมาตาสูงที่สุด รองลงมาคือ น้ำดอกไม้บนต้นตอโชคอนันต์, โชคอนันต์บน ต้นตอแก้ว, พิมเสนมันบนต้นตอแก้ว, น้ำดอกไม้บนต้นตอแก้ว, เขียวเสวยบนต้นตอโชคอนันต์ และ เขียวเสวยบนต้น ตอแก้ว ตามลำดับ เปรียบเทียบระหว่างต้นตอทั้งสองต้นตอ โชคอนันต์มีความหนาแน่นสโตมาตาสูงกว่าต้นตอแก้ว ทุกกิ่งพันธุ์ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและระหว่างกิ่งพันธุ์ดีทั้งสาม  พบว่า พิมเสนมันและน้ำดอกไม้มีจำนวนสโตมาตาใกล้เคียงกัน แต่จะมากกว่าเขียวเสวยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จึงเห็นได้ว่า ต้นตอโชคอนันต์ มีอิทธิพลทำให้กิ่งพันธุ์ที่มีความหนาแน่นของสโตมาตาสูงกว่าต้นตอแก้ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เสริมสกุล พจนการุณ และ ตระกูล ตันสุวรรณ. 2543. อิทธิพลของต้นตอมะม่วงทะวายต่อพฤติกรรมสโตมาตาของกิ่งพันธุ์ดี.กำลังตีพิมพ์.
Banker,. G.J. and R.N. Prasad. 1992. Relation between stomatal distribution and growth of ber rootstocks. Indian Journal of Horticulture. 49(2): 169-171.
Beakbane, A.B. and P.K. Majumder. 1975. Relation ship between Stomatal density and growth potential in apple rootstocks. J. Hort. Sci. 50: 285-289.
Guirguis, N.S. and M.A. Khalil. 1995. Leaf stomata and stem lenticle as a means of identification of some stone fruits stocks. Acta Hort. 409: 229-239.
Hogland, D.R. and D.I. Arnon. 1952. The water culture method for growing plants without soil. California Agricultural. Experimental Station, Bullentin No. 147.
Kamboj J.S., P.S. Blake, J.D. Quinlan and D.A. Baker. 1999. Identification and quantitation by GC-MS of zeatin and zeatin riboside in xylem sap from rootstock and scion of grafted apple trees. Plant Growth Regulation. 28: 199-205.
Kramer, P.J and J.S. Boyer. 1995. Water Relation of Plants and Soils. 2nd ed., Academic Press, Inc., San Diego, California. 495 p.
Majumder, P.K., B.P. Chakladar., and S.K. Mukherrjee. 1969. Selection and classification of mango rootstocks in the nursery stage. Abs. int. Symp. Mango and Mango Cult., New Dehli, 11-12.
Pallas, J.E. and J.E. Box. 1970. Explanation for the stomatal response of excised leaves to kinetin. Nature. 227: 87-88.
Pathak, R. K., D. Pandey and V.S. Pandey. 1977. Stomatal distribution as an index for predicting vigour of plum rootstocks. Indian of Horticulture. 34 (2): 117-119.
Pojanagaroon, S. and T. Tunsuwan. 2000. Effect of everbearing mango rootstock on cytokinins content in xylem exudate. In press.
Pojanagaroon, S. 2000. Effect of Everbearing Mango Rootstock on Physiology and Flowering of Scions. Ph.D. Thesis. Graduate School.Chiang Mai University. In press.
Tunsuwan, T. and G. Bunemann. 1973. Spalto ffnungsverhalten bei Apfelbaumen mit und ohne Fruchte. Gartenbauwiss. 38: 109-115.