ภูมิปัญญากะเหรี่ยงเกี่ยวกับความยั่งยืนระบบนิเวศป่าไม้ต้นน้ำและวนเกษตร

Main Article Content

พรชัย ปรีชาปัญญา
วารินทร์ จิระสุขทวีกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงเกี่ยวกับความยั่งยืนของระบบนิเวศป่าไม้ต้นน้ำและวนเกษตรในภาคเหนือที่บ้านแม่กลางหลวง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยเน้นภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงในการจัดการลุ่มน้ำ การเลี้ยงวัวควายในป่า และการทำนาข้อมูลที่ได้ประกอบไปด้วยความรู้พื้นบ้านกะเหรี่ยง เกี่ยวกับระบบนิเวศที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างป่าไม้ต้นน้ำลำธาร วัวควายในป่า ไร่และนาขั้นบันได และการแจกแจง พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ความรู้ที่ได้สอบถามแบบชุมชนมีส่วนร่วมจากผู้รู้ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนในหมู่บ้าน ข้อมูลที่ สัมภาษณ์ได้ถูกจัดเก็บโดยระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาที่สามารถเรียกใช้ได้ง่าย ซึ่งประกอบไปด้วยความสัมพันธ์ใน ระบบนิเวศ การแจกแจงสิ่งที่มีชีวิต และประโยคบอกเล่าที่จัดเก็บในระบบที่ถาวร ตรวจสอบ และอยู่ในรูปแบบที่ แสดง ให้ดูได้ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงมีเหตุผล ใช้ประมาณเหตุการณ์ได้ และประกอบไปด้วยวิธีการความรู้ที่ได้หากนำผสมผสานกับวิทยาศาสตร์การจัดการลุ่มน้ำและวนเกษตรจะมีประสิทธิภาพในการปรับปรุงความยั่งยืน ของระบบนิเวศน์ป่าไม้ต้นน้ำและนาข้าวมากกว่าใช้องค์ความรู้ใดความรู้หนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญเสริม ชีวะอิสระกุล และบุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2533. การพัฒนาการเลี้ยงวัวบนพื้นที่สูง. ใน. บุญเสริม ชีวะอิสระกุล. รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเลี้ยงวัวบนที่สูง. คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรชัย ปรีชาปัญญา. 2542. ภูมิปัญญาพื้นบ้านเกี่ยวกับระบบนิเวศวนเกษตรบนแหล่งต้นน้ำลำธารในภาคเหนือ. สถานีวิจัยลุ่มน้ำดอย เชียงดาว กลุ่มลุ่มน้ำส่วนวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. กรุงเทพฯ 271. 147 น.
พรชัย ปรีชาปัญญา และพงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ. 2542. โครงการภูมิปัญญาชาวป่าเมี่ยง (ชา)เกี่ยวกับ ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการจัดการ ลุ่มที่สูงภาคเหนือ ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัยหลังปริญญาเอก สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ยศ สันตสมบัติ. 2542. ความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน. ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะ สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, นพบุรีการพิมพ์
สถาบันวิจัยชาวเขา. 2542. ข้อมูลประชากรชาวเขา. กองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์.
Berlin, B. 1973. Folk systematics in relation to biological classification and nomenclature. Annual Review of Ecology and Systematics, 4: 259-271.
Burling, R. 1965. Hill farms and paddy fields, life in mainland Southeast Asia, Prentice-Hall, United States of America. 17 179p.
Preechapanya. P. 1996. Indigenous ecological knowledge about the sustainability of tea gardens in the hill evergreen forest of northern Thailand. Ph.D. Thesis, School of Agricultural and Forest Sciences, University of Wales, Bangor, UK.