การสำรวจดินเพื่อการจัดการทรัพยากรที่ดินสำหรับการเกษตรและป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็ก

Main Article Content

ดุสิต มานะจุติ
จิตติ ปิ่นทอง
ถนอม คลอดเพ็ง
นิวัติ อนงค์รักษ์
ชัยวุฒิ นิมมลังกูล

บทคัดย่อ

การสำรวจดินในลุ่มน้ำวัดจันทร์และแกน้อยจังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการในระหว่างเดือน พฤษภาคม 2535 ถึงเดือนพฤษภาคม 2537 ใช้การสำรวจแบบกึ่งละเอียด (semi-detailed reconnaissance) มาตราส่วน 1: 15,000 โดยทำการแปลภาพถ่ายทางอากาศและเจาะสำรวจดินในภาคสนามแบบวิธีอิสระ (free survey) ลักษณะดินได้ทำการศึกษาจำแนกตั้งแต่ระดับอันดับ (Order) ถึงระดับวงศ์ดิน (Family) ผลการสำรวจดินได้หน่วยแผนที่ดิน (mapping unit) ที่เป็นระดับกลุ่มดินและหน่วยสัมพันธ์ของ กลุ่มดินในพื้นที่ลุ่มน้ำวัดจันทร์ 6 หน่วยและในพื้นที่ลุ่มน้ำแกน้อย 5 หน่วย สามารถจำแนกดินได้เป็น 3 อันดับ 6 อันดับย่อยและ 8 กลุ่มดินลักษณะดินที่ทำการศึกษาในภาคสนามโดยทั่วไปเป็นดินลึกถึงลึกมาก มีการระบายน้ำดี (ยกเว้นดินบริเวณที่ราบหุบเขา ที่มีการระบายน้ำไม่ดี) เนื้อดินชั้นบนเป็น ดินร่วนปนทรายถึงดินเหนียวสีน้ำตาลปนเทาเข้มถึงสีน้ำตาลปนแดงเข้ม ดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายถึงดินเหนียวสีน้ำตาลเข้มถึงสีแดง ดินส่วนใหญ่ที่ทำการศึกษามีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของพื้นที่ไม่อำนวยโดยเฉพาะอย่างยิ่งความลาดชันของพื้นที่เป็นอุปสรรคที่สำคัญที่จำกัดการใช้ประโยชน์ของที่ดินในการทำการเกษตรแบบถาวร การใช้พื้นที่ทำการเกษตรแบบถาวรสามารถกระทำได้ ในพื้นที่ที่มีความลาดชันต่ำกว่า 35% โดยมีการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน 2522. รายงานการสำรวจดินจังหวัดเชียงใหม่ ฉบับที่ 204. กองสำรวจดิน กรมพัฒนาที่ดินกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กองสำรวจและจำแนกดิน. 2528. คู่มือการจำแนกความเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการเล่มที่ 28. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กองสำรวจและจำแนกดิน. 2537. รายงานการสำรวจศึกษาสภาวะทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพพื้นที่สูง โครงการพัฒนาชุมชนที่สูง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 594. กรมพัฒนาที่ดินกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
เฉลียว แจ้งไพร. 2530. ทรัพยากรดินในประเทศไทย. กองสำรวจและจำแนกดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ดุสิต มานะจุติ บุญวาทย์ ลำเภาพงศ์และจรูญ สุขเกษม. 2529. การประเมินศักยภาพของที่ดินที่ใช้ปลูกกาแฟในภาคเหนือ. วารสารเกษตรปีที่ 2 เล่มที่ 2. : 147-162.
นิวัติ อนงค์รักษ์. 2532. การกำเนิดของดินบนที่สูงที่เกิดจากหินแกรนิตในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Covens B. and Deckers. R. 1990. Differences of soil nutrient status between forest and upland rice on the slope land of northern thailand. Msc. thesis KULeuven, Belgium.
FAO. 1988. Soil map of the world. Revised legend., In; World Resources Report 60. FAO, Rome. Hansen. P. K. 1991. Characteristics and formation of soils in a mountainous watershed area in northern Thailand. Msc. thesis, Chemistry Department, Royal Veterinary and Agricultural University. Copenhagen, Denmark.
Hendricks C.A. 1981. Soil-vegetation Relations in the North Continental Highland Region of Thailand.: A preliminary report (not published) Chiang Mai University.
Kirsh, H. 1991. Geological Maps Within Agricaltural Development Projects of the Mountainous Area.: Preliminaly report (not published) Chiang Mai University.
Kunaporn S. 1984. A study on characteristics and genesis of the soils in eco-floristic zones. Doi Inthanon, Chiang Mai Province, MSc. Thesis, Kasetsart University, Thailand.
Soil Survey Staff. 1975. Soil Taxonomy, A Basic System of Soil Classification for Making and Interpreting Soil surveys, U.S.Dept.Agric., U.S. Govt. Printing office, Washington D.C. 754 p.
Soil Survey Staff. 1992. “Key to Soil Taxonomy”. SMSS Technical Monograph No 19. Fifth edition. Van Keer K. 1992. Soil variability along steep slopes in the highlands of northern thailand. Msc. thesis, KULeuven, Belgium.