การเปลี่ยนแปลงปริมาณเอทิลีนในช่วงก่อนการแตกใบอ่อนในยอดลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยและมะปรางพันธุ์ทูลเกล้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณเอทิลีนในช่วงก่อนการแตกใบอ่อนในยอดลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยใช้ต้นลิ้นจี่ที่สวนสองแสน ดอยปุย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทำการทดลองตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 โดยการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ทำ 7 ซ้ำมี 5 วิธีการ ใช้จำนวนสัปดาห์ก่อนการแตกใบอ่อน 0, 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์เป็นวิธีการ ผลการทดลองพบว่า ความเข้มข้นของเอทิลีนในช่องว่างระหว่างเซลล์ในยอดลิ้นจี่จะต่ำและ คงที่ระหว่างในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ก่อนการแตกใบอ่อน จากนั้นจะเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 2 และคงที่ในสัปดาห์ที่ 1 แล้วหลังจากนั้นจะคงที่ไปจนถึงในสัปดาห์ที่แตกใบอ่อน ส่วนการศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณเอทิลีนในช่วงก่อน การแตกใบอ่อนในยอดมะปรางพันธุ์ทูลเกล้า ใช้ต้นมะปรางที่สวนวังน้ำค้าง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ทำการทดลองตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ทำ 10 ซ้ำ ใช้จำนวนสัปดาห์ก่อนการแตกใบอ่อน 0, 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์เป็นวิธีการ พบว่า ความเข้มข้นของเอทิลีนในช่องว่างระหว่างเซลล์ใน ยอดมะปรางจะต่ำและคงที่ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 ถึงสัปดาห์ที่ 1 ก่อนการแตกใบอ่อน แล้วความเข้มข้นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสัปดาห์ที่แตกใบอ่อน
Article Details
References
คณพล จุฑามณี. 2532. การเปลี่ยนแปลงระดับของสารคล้ายจิบเบอเรลลิน ในช่วงการเจริญทางกิ่งใบและการออกดอกของมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 64 น.
ดรุณี นาพรหม. 2539. การเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายไซโตไคนินในช่วงก่อนออกดอก และแตกใบอ่อนของยอดลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 91 น.
ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ. 2539. มะปราง-มะยงชิด. สำนักพิมพ์มติชน. กรุงเทพฯ. 54 น.
ธนัท ธัญญาภา. 2538. หลักการทำสวนไม้ผล. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 118 น.
นพพร บุญปลอด. 2539. การเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินในยอดลำไยพันธุ์ดอ ก่อนการออกดอก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 62 น.
พีระเดช ทองอำไพ. 2537. ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน ในประเทศไทย. วิชัยการพิมพ์. กรุงเทพฯ. 196 น.
โรจน์รวี ภิรมย์. 2539. การศึกษาวิธีการวิเคราะห์หาปริมาณสารคล้ายไซโตไคนินในยอดลำไยพันธุ์ดอ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 138 น.
Bernier, G., J.M.Kinit and R.M.Sachs. 1985. The Physiology of Flowering. volume II. Transition to Reproductive Growth. CRC Press. Florida. 231 p.
Chen, W. S. 1990. Endogenous growth substances in xylem and shoot tip diffusate of lychee in relation to flowering. Hort. Science 25(3): 314-315.
Chen, W. S. 1991. Changes in cytokinins before during early flower bud differentiation in lychee (Litchi chinensis Sonn.) Plant Physiol. 96: 1203-1206.
Menzel, C. M. 1984. The pattern and control of repro ductive development in lychee: A review. Scientia Horticulturae 22: 333-345.
Saltveit, Jr. M. E. 1982. Procedures for extracting and analyzing internal gas samples from plant tissues by gas chromatograph. HortScience 17 (6): 878 881.
Subhadrabandhu, S. 1990. Lychee and Longan Cultivation in Thailand. Rumthai Publication. Bangkok 40p.