การให้สินเชื่อเพื่อการเลี้ยงสัตว์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดยะลา, ปัตตานีและนราธิวาส) มีน้อยมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน การให้สินเชื่อเพื่อการเกษตรก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการให้สินเชื่อเพื่อการเลี้ยงสัตว์และแนวความคิดที่มีต่อการให้สินเชื่อของผู้จัดการ ธนาคาร โดยทำการสัมภาษณ์ผู้จัดการธนาคารรวมทั้งสิ้น 28 คน
ผลการวิจัยพบว่าทุกธนาคารมีการให้สินเชื่อเพื่อการเกษตร เกณฑ์ในการให้เงินกู้ยืมที่สำคัญที่ธนาคารพิจารณาคือ หลักทรัพย์ วัตถุประสงค์ และรายได้ของโครงการ การให้กู้ยืมมีทั้งเป็นรายบุคคล และเป็นกลุ่มบุคคล ผู้จัดการธนาคารเห็นว่า การเลี้ยงสัตว์มีความเสี่ยงมากกว่าการเพาะปลูก จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเพาะปลูกมากกว่าการเลี้ยงสัตว์ ดังจะเห็นได้จากการให้เงินกู้ยืมเพื่อการเพาะปลูกมากกว่าการเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงโคและไก่ได้รับความสำคัญในด้านสินเชื่อมากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ผลของการให้สินเชื่อที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์พอใช้จนถึงดี ปัญหาสำคัญในการให้สินเชื่อก็คือ การยากต่อการติดตามผล และเกษตรกรมีขีดความสามารถในการส่งคืนเงินชำระหนี้จำกัด ส่วนปัญหาที่สำคัญในการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร คือ การขาดความรู้ในการเลี้ยง และการขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เห็นว่า การพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นเขตเศรษฐกิจสามารถที่จะทำได้ โดยการจัดการฝึกอบรมแบบเข้มข้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ให้กับเกษตรกร การจัดหาตลาดรองรับและการเข้าถึงตลาดระหว่างประเทศ และการจัดหาสินเชื่อระยะยาวที่มีดอกเบี้ยต่ำ
Article Details
References
จันทนา บุญศิริ. 2538. ผลที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงโคนมทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในทัศนะของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานพันธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จีรเกียรติ อภิบุณโยภาส. 2527. ธนกิจการเกษตร. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ เกษตร คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทองโรจน์ อ่อนจันทร์.2529. สินเชื่อนอกระบบและสินเชื่อเพื่อกิจกรรมนอกฟาร์ม. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี 2559 ของสมาคมเศรษฐศาสตร์เกษตรแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 22-23 ธันวาคม 2529 ณ โรงแรมยัลปาร์ค จ.เชียงใหม่.
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. 2537. การดำเนินงานโครงการสินเชื่อการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามความช่วยเหลือของประชาคมยุโรป. วารสาร ธ.ก.ส. (ต.ค. 30 มี.ค. 31): 39- 52.
เบญจพรรณ เอกะสิงห์, กุศล ทองงาม, บุญเสริม ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม ชีวะอิสระกุล และสมคิด พรหมมา. 2540. รายงานการวิจัยเรื่อง บทบาทประสิทธิภาพ และการฝึกอบรมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมชายหญิง ในภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
เพลินพิศ สัตย์สงวน. 2531. นโยบายสินเชื่อสู่ชนบท. วารสาร ธ.ก.ส. (ต.ค. 30 มี. ค 31): 5-9.
วิทยา เจียรพันธุ์ และอรุณวรรณ วงศ์มณีโรจน์. 2536. รายงานการวิจัยเรื่อง กระบวนการอพยพแรงงาน ของเกษตรกรชนบท. กรุงเทพมหานคร : กองวิชาการสำนักวิชาการและแผนธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร.
ศิริชัย สาครรัตนกุล, ยงเกียรติ จรณศักดิ์สกุล และเฉลี่ยว วามวงศ์. 2529. การให้สินเชื่อเพื่อการเกษตรใน ประเทศไทย : ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี 2529 ของสมาคมเศรษฐศาสตร์เกษตรแห่งประเทศไทยระหว่างวันที่ 22-23 ธันวาคม 2529 ณ โรงแรมยัลปาร์ค จ.เชียงใหม่
สามารถ นิตย์เสมอ. 2536. ธ.ก.ส. การปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท. วารสาร ธ.ก.ส. (ธ.ค. 35-มี.ค. 36): 32-43.