การจำแนกพันธุ์ลิ้นจี่โดยวิธีสัณฐานวิทยาอิเล็กโทรโฟรีซิสและเซลล์พันธุศาสตร์

Main Article Content

ชินวัฒน์ ยัพวัฒนพันธ์
เกศิณี ระมิงค์วงศ์

บทคัดย่อ

ทำการศึกษาการจำแนกพันธุ์ลิ้นจี่ที่ปลูกในแปลงรวบรวมพันธุ์ของศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จำนวน 19 พันธุ์ ได้แก่ กะโหลกใบเถา กะโหลกใบยาว กะโหลกใบอ้อ กวางเจา กิมเจง ค่อม ค่อมลำเจียกจักรพรรดิ์ จีนเล็ก จีนใหญ่ บริวสเตอร์ ลูกลาย สาแหรกทอง สำเภาแก้ว แห้ว โอวเฮียะ ฮงฮวย 1 ฮงฮวย 2 และ Hakip พบว่า  การจำแนกพันธุ์โดยวิธีสัณฐานวิทยา ด้วยการสังเกตและวัดค่าทางปริมาณและคุณภาพ ของโครงสร้างใบ ดอก ผล และเมล็ด ของลิ้นจี่ แต่ละพันธุ์ สามารถจัดทำรูปวิธานเพื่อจำแนกพันธุ์ โดยใช้ลักษณะของ สีใบ รูปร่างใบ ฐานใบ ปลายใบ และขอบใบ และสามารถจำแนกพันธุ์ลิ้นจี่บางพันธุ์ ที่มีลักษณะเฉพาะประจำพันธุ์ได้ เช่น ลิ้นจี่พันธุ์กิมเจง มีปลายใบมน พันธุ์ค่อม มีใบและผลขนาดเล็กที่สุด พันธุ์จักรพรรดิ์ มีผลและเมล็ดขนาดใหญ่ที่สุด 


            การจำแนกพันธุ์โดยวิธีอิเล็กโทรโฟรีซิส ด้วยการสกัดไอโซไซม์จากใบแก่ของลิ้นจี่  ด้วยสารสกัด 0.05 M Tris-HCl buffer, pH 8.4 (150 mM NaCl, 10 mM cysteine, ImM ascorbic acid, 1 mM Caci2, 1 mM Na2 -EDTA, 2% nicotine)  โดยใช้โพลีอะคริลาไมค์เจลเข้มข้น 8.5 เปอร์เซ็นต์ สำหรับไอโซไซม์ peroxidase และ 10 เปอร์เซ็นต์สำหรับไอโซไซม์ acid phosphatase จากการวิเคราะห์รูปแบบของแถบสีจากแผนภาพ Zymogram ด้วยเอนไซม์ peroxidase พบว่าลิ้นจี่ 19 พันธุ์ สามารถจำแนกออกได้เป็น 14 กลุ่ม และเมื่อนำลิ้นจี่ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันไปจำแนกต่อด้วยเอนไซม์ acid phosphatase สามารถจำแนกพันธุ์ลิ้นจี่ออกจากกันได้ทั้งหมด


            การจำแนกพันธุ์โดยวิธีเซลล์พันธุศาสตร์ใช้ส่วนปลายของรากที่งอกใหม่ ความยาว 0.5-1.0 เซนติเมตรในเวลาประมาณ 9.00 นาฬิกา หยุดวงชีพของเซลล์ด้วยสารละลาย paradichlorobenzene ย่อยแยกเซลล์ด้วยกรดไฮโดรคลอริก และย้อมสีด้วย carbol fuchsin และ lacto-propionic orcein ศึกษาโครโมโซมในระยะเมทาเฟส พบว่าลิ้นจี่ทุกพันธุ์มีจำนวนโครโมโซมเท่ากันคือ 2n=30 และสามารถจำแนกพันธุ์ลิ้นจี่จากความแตกต่างของขนาดและรูปร่างโครโมโซม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา สัมพันธารักษ์. 2519. หลักการปรับปรุงพันธุ์พืช. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 418 น.
เกศิณี ระมิงค์วงศ์. 2528. การจัดจำแนกไม้ผล. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 289 น.
จินดาศรศรีวิชัย, 2524. สรีรวิทยาพืชภาคการเจริญเติบโตและการควบคุม, ภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่, 280 น.
ไพศาลเหล่าสุวรรณ. 2525. พันธุศาสตร์ภาควิชาพืชศาสตร์คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา, 342 น.
ศูนย์สถิติการเกษตร. 2529. รายงานผลการสำรวจลิ้นจี่ปี 2529. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กรุงเทพฯ. 12 น.
Aradhya, M. K., F.T.Zee and R.M.Manshardt. 1995. Isozyme variation in lychee (Litchi chinensis Sonn.). Sci.Hort. 63: 21-35.
Batten, D. 1984. Lychee Varieties. Agfact. Department of Agriculture, New South Wales. 15 p.
Degani, C., A.Beiles, R.El-Batsri, M. Goren and S.Gazit. 1995. Identifying lychee cultivars by isozyme analysis. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 120: 307-312.
Ramingwong, K. and K. Chiewsilp. 1994. Genetic Resources of Longan in Northern Thailand. Final Report Submitted to Chiang Mai University, Chiang Mai.76 p.
Subhadrabandhu, S. 1990. Lychee and Longan Cultivation in Thailand. Rumthai Publication, Bangkok. 40 p.