ผลไม้ไทยกับการแข่งขันในตลาดโลก: เราจะไปทางไหนกันดี ???

วารสารเกษตรฉบับนี้ มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับไม้ผลหลายเรื่อง ซึ่งล้วนน่าสนใจ และมีความหลากหลายดี เชิญทุกท่านติดตามอ่านดูได้

เคยมีการรวบรวมโครงการวิจัยเกี่ยวกับไม้ผลที่ดำเนินงานโดยทุกหน่วยงานในประเทศไทยย้อนหลัง 10 ปี พบว่า ทั้งนักวิจัยภาครัฐ ภาคเอกชน นักศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก ทำงานวิจัยเกี่ยวกับไม้ผลทุกชนิดรวมกันมากกว่า 500 เรื่อง  นี่ยังไม่รวมงานวิจัยแบบลองผิดลองถูกที่ทำโดยเกษตรกรอีกมากมาย ถ้าจะคิดถึงเงินลงทุนวิจัยกับไม้ผลโดยรวมไม่น่าจะต่ำกว่าพันล้านบาท

เราควรจะพอหรือยังกับงานวิจัยไม้ผล แล้วหันไปทุ่มเทกับพืชกลุ่มอื่น หรือเรายังต้องทำงานวิจัยไม้ผลกันอีกต่อไปอย่างไม่รู้จบ

แน่นอนที่สุดคงต้องเป็นกรณีหลัง คำถามต่อไปก็คือเราจะต้องลงทุนอีกกี่พันล้านบาท ทำงานวิจัยกันอีก 10 ปีเราถึงจะเป็นผู้ส่งออกผลไม้เลี้ยงพลโลกได้ ตามศักยภาพที่เรามีและน่าจะทำได้

 

เป็นที่ยอมรับกันว่าพันธุ์ไม้ผลเมืองร้อนและไม้ผลกึ่งร้อนของไทยเป็นพันธุ์ดีที่สุดในโลก หรืออย่างน้อยก็อยู่ในระดับต้น ๆ แต่พืชเหล่านี้ก็ถูกลักลอบนำออกไปปลูกยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก เราจะทำได้เพียงออกกฎหมายห้ามนำออกพันธุ์พืชเท่านั้น หรือเราจะต้องหันมาทุ่มเทงานวิจัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก

เราควรจะทำงานวิจัยเฉพาะบุคคลตามความสนใจอย่างที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ หรือเราจะรวมกลุ่มบุคลากร แม้ต่างสถาบันเพื่อทำวิจัยเชิงพัฒนาอย่างครบวงจร และส่งผลทันทีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม

เราควรจะวิจัยเพื่อการขายผลผลิตในรูปตลาดบริโภคสดเท่านั้น หรือเราจะมุ่งตลาดแปรรูปเชิงอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก สองตลาดนี้มีจุดเน้น ข้อกำหนดและข้อจำกัดต่างกันโดยสิ้นเชิง

ดูสวยงามน่ากินแต่แพง กับ คุณภาพการใช้งาน (แปรรูป)ดีแต่ราคาถูก

งานวิจัยไม้ผลของเราจะมุ่งไปทางไหนดี ???

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-12

การปรับปรุงพันธุ์ผักกาดเขียวปลีลูกผสมโดยอาศัยยีนตัวผู้ เป็นหมันในไซโตพลาสซึม

นรินทร์ เสนาป่า, โชคชัย ไชยมงคล, ตระกูล ตันสุวรรณ, พิชัย คงพิทักษ์, มณีฉัตร นิกรพันธุ์

126-136

การชะลอการสุกและการแตกของผลทุเรียนพันธุ์หมอนทองโดยการเคลือบผิวด้วยอีมัลชัน

นิธิยา รัตนาปนนท์, ดนัย บุณยเกียรติ, ทองใหม่ แพทย์ไชโย, ทองใหม่ แพทย์ไชโย

149-155

ผลของการเลี้ยงก้านใบของต้นเท้ายายม่อมต่อการพัฒนาเป็นต้นใหม่

กนิษฐิกา ตันติสุนทร, พิมพ์ใจ อาภาวัชรุตม์

156-163

ผลกระทบของปรากฏการณ์ “เอลนิโญ” ต่อการออกดอกของมะม่วง

เสริมสกุล พจนการุณ, ตระกูล ตันสุวรรณ

164-184

โครงสร้างของหัวว่านสี่ทิศ

วัฒนาวดี จินตภากร, ฉันทนา สุวรรณธาดา

185-191