การปรับปรุงพันธุ์ผักกาดเขียวปลีลูกผสมโดยอาศัยยีนตัวผู้ เป็นหมันในไซโตพลาสซึม

Main Article Content

นรินทร์ เสนาป่า
โชคชัย ไชยมงคล
ตระกูล ตันสุวรรณ
พิชัย คงพิทักษ์
มณีฉัตร นิกรพันธุ์

บทคัดย่อ

ยีนตัวผู้เป็นหมันในไซโตพลาสซึมของผักกาดเขียวปลี ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกาได้ถูกนำมาถ่ายทอดเข้าสู่พันธุ์ผักกาดเขียวปลีที่ดี 8 สายพันธุ์ โดยการผสมข้าม ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวได้ผ่านการคัดเลือกที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการผสมกลับลูกผสมชั่วที่หนึ่งกับพันธุ์พ่อ 4 ครั้ง (BC4) ได้ลูกผสม BC4 ที่มีลักษณะเป็นหมัน ในปี 2539 ได้ทำการผสมข้ามระหว่าง BC4 กับสายพันธุ์ผักกาดเขียวปลีที่ดีคือ 4OR2 -3-4 ทำการทดสอบลูกผสมเปรียบเทียบกับพันธุ์การค้า ในฤดูหนาวปี 2540 พบว่า ลูกผสมส่วนใหญ่ไม่มีการห่อหัว แต่มีลูกผสม 2 สายพันธุ์ คือ (4-4 x 19-H-12) x4OR2 -3-4 และ (4-4x2R2) x 40R2 -3-4 ที่ห่อหัว 100% และให้ผลผลิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของพันธุ์การค้า 34% และ 13% ตามลำดับ และทั้ง 2 สายพันธุ์ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ 4OR2 -3-4 ซึ่งเป็นพันธุ์พ่อ 25% และ 5% ตามลำดับ


            จากการศึกษาวิธีการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักกาดเขียวปลี โดยวิธีการผสมเกสรโดยใช้มือ การผสมเกสรโดยใช้ผึ้ง และการผสมตามธรรมชาติ พบว่า การผสมเกสรโดยใช้มือให้ผลดีกว่า การผสมเกสรโดยผึ้งและการผสมตามธรรมชาติ  โดยให้น้ำหนักฝัก 0.1380 กรัม/ฝัก น้ำหนักเมล็ด 1.0016 กรัม/1,000 เมล็ด  และให้เมล็ด 8.5 เมล็ด/ฝัก


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จานุลักษณ์ ขนบดี. 2535. การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 183 หน้า.
Hsuan Heng. 1969. Order and Families of Malayan seed plants. Khuala Lumper: University Press. P.429.
Na-Lampang, N., M. Wivutvongvana, W. Na Anan and S. Utasuk. 1987. Vegetable seed production in Thailand. Annual report, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. Thailand. P.87. Wivutvongvana, M., P. Lumyong, P. Wivutvongvana and P. Tanee. 1987. Vegetable seed production in Thailand. Phase I, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. Thailand. P. 64.
Nikornpun, M., U. Tan Kim Yong and P. Samitamana. 1992. Vegetable seed production in Thailand. Phase III, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. Thailand.