ผลของการเลี้ยงก้านใบของต้นเท้ายายม่อมต่อการพัฒนาเป็นต้นใหม่

Main Article Content

กนิษฐิกา ตันติสุนทร
พิมพ์ใจ อาภาวัชรุตม์

บทคัดย่อ

เมื่อนำชิ้นส่วนขนาด 2 มม  จากก้านใบของต้นเท้ายายม่อม 4 ตำแหน่ง จากโคนก้านใบ 5 ตำแหน่งไปเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่มี 2,4-D 0.05 มก/ล  เป็นเวลา 27 สัปดาห์ พบว่าใบทั้ง 4 ตำแหน่ง สามารถชักนำให้เกิดต้นใหม่ได้แต่จะเกิดเฉพาะตำแหน่งที่ 1 จากโคนก้านใบเท่านั้น  ส่วนตำแหน่งอื่น  ไม่สามารถชักนำให้เกิดต้นใหม่ได้เลย  จากการทดลองนี้พบว่าชิ้นส่วนโคนก้านใบ ของใบที่ 3 สามารถชักนำให้เกิดต้นใหม่เฉลี่ยมากที่สุด และใช้เวลาน้อยที่สุด แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากใบตำแหน่งอื่น และการเลี้ยงใบตำแหน่งที่ 3 นั้น สามารถเกิดยอดได้ 80 เปอร์เซ็นต์  โดยต้นใหม่ที่ได้จากการทดลองนี้ทั้งหมด เกิดโดยผ่านโครงสร้างคล้ายคัพภะเทียม (embryo-like structure) ที่เป็นก้อนกลม สีขาว ผิวมัน เกิดใกล้กลุ่มเซลล์ท่อลำเลียง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน. 2525. อักษรเจริญทัศน์ จำกัด. กรุงเทพฯ. หน้า 410.
ศูนย์สนเทศการเกษตรและสหกรณ์. 2528. พืชสมุนไพร 2. สำนักงานเกษตรภาคกลางจังหวัดชัยวัดชัยนาท.สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. หน้า 28.
สุนทรี สิงหบุตรา. 2536. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. พิมพ์ครั้งที่ 1. โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์. กรุกรุงเทพฯ. หน้า 99. สะอาด ร่มรื่นสุขารมย์. 2533. การผลิตหัวย่อยของแกลดิโอลัส โดยการเพาะเลี้ยงก้านช่อดอกอ่อน. วิทยาการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 18(1): 11-25.
โสภณ สินธุประมา. 2528. สาคู.กสิกร. 57(2): 84.
Everett, T.H. 1968. Encyclopedia of Gardening. Volume 21. Greystone Press, New York. p. 1,213.
Gonzalez, B.E. and P.G. Alderson. 1990. Regeneration from Alstroemeria callus. Acta. Hort. 280: 135-138
Hulscher, M., H.T.Krijgsheld and P.C.G. van der Linde. 1992. Propagation shoot and bulb growth of Tulip in vitro. Acta. Hort. 325(1): 441-446.
Le Nard, M.and F. Chanteloube. 1992. In vitro culture of explants excised from growing stem of tulip (Tulipa gesneriana L.): Problems related to bud and bulb- let formation Acta. Hort. 325: 435- 440
Rice, R. D., P. G. Alderson and N. A. Wright. 1983. Induction of bulbing of tulip shoot in vitro. Scientia Hort. 20: 377-390.