การใช้สารกำจัดวัชพืช Haloxyfop-R-methyl Ester ในไร่กระเทียม

Main Article Content

พรชัย เหลืองอาภาพงศ์
สยมชัย สิงหรา ณ อยุธยา

บทคัดย่อ

ทำการทดลอง 2 แปลงการทดลองในจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนธันวาคม 2540-มีนาคม 2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชฤดูเดียวประเภทใบแคบวงศ์หญ้าของสาร haloxyfop-R-methylester[R-methyl-2-(4-(3chloro-5(trifluoro-methyl)-2-pyridyloxy)phenoxy) propionate] ในไร่กระเทียม ทำการพ่นสารเคมีภายหลังการปลูกกระเทียม 30 วันด้วยถังพ่นแบบสะพายหลังที่มีปริมาณน้ำ (spray volume) 80 ลิตร / ไร่ พบว่าสาร haloxyfop-R-methyl ester อัตรา 8.64 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ จะมีประสิทธิภาพดีมากในการควบคุมวัชพืชฤดูเดียวประเภทใบแคบวงศ์หญ้าพวกหญ้าตีนกา (Eleusine indica (L. )Gaerth.), หญ้าตีนนก (Digitaria sanguinalis (L.)Scop.) และหญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona (L.)Link.) โดยที่การใช้สาร haloxyfop-R-methyl ester ในอัตราสูงกว่า 10.84 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ จะให้ผลดีเยี่ยมในการควบคุมวัชพืชพวกนี้ อย่างไรก็ตามการใช้สาร haloxyfop-R-methyl ester ในอัตรา 8.64-17.28 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ โดยทำการพ่นแบบคลุมไปบนพืชภายหลังการปลูก 30 วันไม่ทำให้กระเทียมแสดงอาการเป็นพิษแต่อย่างใด การใช้สาร haloxyfop-R-methyl ester เพื่อควบคุมวัชพืชฤดูเดียวประเภทใบแคบวงศ์หญ้าจะสามารถเพิ่มผลผลิตกระเทียมได้ 7.3-34.7% เมื่อเทียบกับสภาพที่ไม่มีการใช้สารเคมี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรชัย เหลืองอาภาพงศ์, ปริศนา พูนไชยศรี และสมสิทธิ์ ชำนาญศิลป์. 2537. ประสิทธิภาพของสาร propaquizafop ในการกำจัดวัชพืชใบแคบวงศ์หญ้าในกระเทียม. วารสารเกษตร. 10(2): 189-196.
พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์ (Weed Science). สำนักพิมพ์รั้วเขียว. วี.บี. บุ๊คเซ็นเตอร์ กรุงเทพ 585 หน้า.
เสริมศิริ คงแสงดาว และ เกลียวพันธ์ สุวรรณรักษ์. 2534. การควบคุมวัชพืชในผักตระกูลหอมกระเทียมรายงานการประชุมวิชาการ กองพฤกษศาสตร์และวัชพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บทคัดย่อหน้า 18.