ในระยะหลังมานี้ เรื่องที่เป็นข่าวครึกโครมในสายวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ได้แก่ การที่นักวิทยาศาสตร์ไทยค้นพบพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีสารออกฤทธิ์กระทบต่อฮอร์โมนเพศหญิง และฮอร์โมนเพศชายในร่างกายมนุษย์ และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทั้งในรูปของการรับประทานเป็นอาหารเสริม และในรูปครีมทาภายนอก โดยมีการยืนยันประโยชน์ในการชลอการแก่ตัวของเซลล์ผิวหนัง ตลอดจนการช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศเหมือนกรณีของยาที่ผลิตจำหน่าย โดยบริษัทต่างประเทศที่รู้จักกันโดยทั่วไป

            นี่นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของงานวิจัย เพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในประเทศไทย ซึ่งงานวิจัยในลักษณะนี้น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ประเทศไทยควรจะเร่งพัฒนาและสนับสนุนเงินทุนวิจัย ในลักษณะโครงการใหญ่แบบครบวงจร จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญในเชิงประโยชน์ใช้สอยและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เพราะในกรณีของความหลากหลายทางชีวภาพเหล่านี้ การอนุรักษ์เชิงเก็บรักษาเชื้อพรรณเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ ควรจะต้องเร่งพัฒนาการนำมาใช้ประโยชน์ด้วย เนื่องจากถึงแม้ว่าเราจะไม่นำมาใช้ประโยชน์ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์ชาติอื่น ๆ ก็จะเป็นผู้นำออกมาใช้ประโยชน์และจดลิขสิทธิ์เสียเองเมื่อถึงวันนั้นเราก็จะทำได้เพียงแต่ล้อมคอกหลังวัวหายเท่านั้น

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-16

ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชที่พบในสวนลำไยที่เป็นโรคหงอย

ภมรทิพย์ อักษรทอง, จริยา วิสิทธิ์พานิช, ชาตรี สิทธิกุล

3-9

การใช้สารกำจัดวัชพืช Haloxyfop-R-methyl Ester ในไร่กระเทียม

พรชัย เหลืองอาภาพงศ์, สยมชัย สิงหรา ณ อยุธยา

10-18

การใช้สารกำจัดวัชพืช Haloxyfop-R-methyl Ester ในหอมหัวใหญ่

พรชัย เหลืองอาภาพงศ์, สยมชัย สิงหรา ณ อยุธยา

19-28

ผลของความเข้มแสงต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะม่วง

ชวลิต กอสัมพันธ์, เกศิณี ระมิงค์วงศ์

29-40

การป้องกันและควบคุมโรคโคนมของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่

นุชา สิมะสาธิตกุล, อังคณา ผ่องแผ้ว, พัฒนา เจียรวิริยะพันธุ์

62-76

Monitoring of Ovarian Function in Captive Banteng (Bos javanicus birmanicus) by Determination of Faecal Progesterone

Tusanee Apichartsrungkoon, Petai Pongpiachan, Chatri Khoohathapharak, Kanchai Sanwong

77-86

การขยายพันธุ์ผีเสื้อราตรีในหลอดทดลอง

พจมาลย์ สุรนิลพงศ์, สมปอง เตชะโต

87-98