การป้องกันและควบคุมโรคโคนมของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมใน อ.สันกำแพง กิ่ง อ.แม่ออน และ อ.สันทราย จำนวน 33 ราย เดือนละครั้ง ตั้งแต่มิถุนายน 2538 - มิถุนายน 2539 เกษตรกรมีโคนมเฉลี่ย 12.42 ตัวต่อฟาร์ม เป็นโครีดนม 4.21 ตัวต่อฟาร์ม ที่เหลือเป็นโคพักรีด โคสาว โครุ่น และลูกโค 1.6, 2.62, 1.92 และ 2.07 ตัวต่อฟาร์มตามลำดับ อัตราการตั้งท้องของโคของเกษตรกร กิ่ง อ.แม่ออน สูงสุด (ร้อยละ 55.7) รองลงมาคือ ของ อ.สันทราย (ร้อยละ 48.64) และอ. สันกำแพง (ร้อยละ 40.36)
เกษตรกรร้อยละ 100 และ 36.36 มีโคได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และเฮโมเรยิกเซฟติคซีเมียตามลำดับ และเกษตรกรร้อยละ 81.2 มีโคได้รับการตรวจโรคบรูเซลโลซีสและวัณโรคและโคทุกตัวที่ตรวจให้ผลลบต่อโรคทั้งสอง ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบรูเซลโลซีส มีเกษตรกรร้อยละ 63.64 ที่โคได้รับการฉีดวัคซีนในช่วงของการสัมภาษณ์
เกษตรกรร้อยละ 97 ดำเนินการกำจัดพยาธิภายใน โดยร้อยละ 94 ให้ยากำจัดพยาธิภายในโคพักรีดก่อนคลอด 1 เดือน และร้อยละ 63.6 ให้ยากำจัดพยาธิภายในลูกโค ส่วนการกำจัดพยาธิภายนอกมีเกษตรกรร้อยละ 39.4 ที่ปฏิบัติ
เกษตรกรร้อยละ 87.88 ฉีดไวตามิน เอ ดี และอี แก่แม่โคก่อนคลอด 1 เดือน และเกษตรกรร้อยละ 100 เสริมแร่ธาตุแก่โค
การป้องกันโรคเต้านมอักเสบ มีเกษตรกรร้อยละ 24.24 ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดเต้านมก่อนรีด และจุ่มหัวนมในน้ำยาฆ่าเชื้อหลังรีด และร้อยละ 48.48 ใช้ยาดราย ซึ่งแตกต่างกันมากคือ เกษตรกรอำเภอสันทรายและกิ่ง อ.แม่ออน ร้อยละ 100 และ 50 ใช้ยาดราย ส่วน อ.สันกำแพง ไม่มีการใช้ยาดรายเลย
สาเหตุของโคป่วยเกิดจากโรคเต้านมอักเสบและปัญหากีบมากที่สุด สำหรับค่าใช้จ่ายในการป้องกันและควบคุมโรคโคนมเฉลี่ยต่อฟาร์มต่อเดือนคิดเป็นสัดส่วนของเกษตรกรออกค่าใช้จ่าย ต่อรัฐบาลช่วยเหลือเป็น 1 ต่อ 1.04
Article Details
References
จากประเทศแคนาดา, รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2534. สถาบันพัฒนาฝึกอบรมและวิจัยโคนมแห่งชาติ กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: 73-74.
ปรียพันธุ์ อุดมประเสริฐ. 2535. ต้นทุนการผลิตในฟาร์มโคนม. คู่มือการใช้ระบบฐานข้อมูลสหกรณ์โคนม. คณะ
สัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: 66-67.
มณฑา เหลืองวัฒนวิไล. 2535. การศึกษาขนาดของฟาร์มโคนมลูกผสมขาว-ดำที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร
รายย่อยในเขตจังหวัดเชียงใหม่ โดยการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล : 129.
วิสุทธ์ หิมารัตน์ และ M.M.Lyncy. 2537. ต้นทุนการผลิตน้ำนมโคนมพันธุ์แท้ แคนาดาโฮลสไตน์ โครงการ
ฟาร์มโคนมสาธิต ไทย-แคนาดา. สถาบันพัฒนาฝึกอบรมและวิจัยโคนมแห่งชาติ จ.เชียงใหม่ กรมปศุ-สัตว์: 8.
สมภพ จิตตประไพ. 2539. คำแนะนำการใช้วัคซีนกรมปศุสัตว์. กองปศุสัตว์สัมพันธ์ กรมปศุสัตว์ : 11-13.
สุรพงษ์ วงศ์เกษมจิตต์, สุรีย์ ธรรมศาสตร์ และสมชาย ช่างทอง. 2537. การสำรวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการ
เลี้ยงโคนมทั่วประเทศ รายงานผลการสำรวจสภาวะโรคโคนม ปี 2537. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุ-สัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ : 213-222.