ผลของความเข้มแสงต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะม่วง

Main Article Content

ชวลิต กอสัมพันธ์
เกศิณี ระมิงค์วงศ์

บทคัดย่อ

ต้นกล้ามะม่วงพันธุ์แก้วและพันธุ์ตลับนากปลูกในสภาพความเข้มแสง 25 50 และ 100 เปอร์เซ็นต์เมื่อวัดอัตราการเจริญเติบโตของ เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ความสูงของต้น ความกว้างและความยาวของใบความยาวก้านใบ พื้นที่ใบต่อต้น ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมในใบ น้ำหนักจำเพาะของใบ จำนวนปากใบต่อหน่วยพื้นที่ของใบ น้ำหนักแห้งของส่วนยอดและน้ำหนักแห้งของราก พบว่าความเข้มแสงระดับต่างๆไม่มีผลอย่างเด่นชัดต่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นความสูงของต้นและจำนวนใบต่อต้น แต่เมื่อความเข้มของแสงเพิ่มขึ้น มีผลทำให้ความกว้างและความยาวของใบ ความยาวก้านใบ พื้นที่ใบต่อต้น และปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบลดลงในขณะที่น้ำหนักจำเพาะของใบ จำนวนปากใบต่อหน่วย พื้นที่ใบ น้ำหนักแห้งของส่วนยอด และน้ำหนักแห้งของรากเพิ่มขึ้น


            ต้นกล้ามะม่วงทั้งสองพันธุ์มีความแตกต่างกันในด้านจำนวนใบ และความกว้างของใบ แต่ไม่แตกต่างกันในด้านความยาวของใบ ความยาวก้านใบ พื้นที่ใบต่อต้น น้ำหนักจำเพาะของใบ ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมจำนวนปากใบต่อพื้นที่น้ำหนักแห้งส่วนยอด  และน้ำหนักแห้งส่วนราก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศิณี ระมิงค์วงศ์. 2529. ไม้ผลเมืองร้อน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 290 น.
ธงชัย มะลิสุวรรณ. 2535. การผลิตต้นกล้ามะม่วง. 209 หมู่ 3 ต. หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (ติดต่อ ส่วนตัว)
พันธ์ศักดิ์ แก่นหอม. 2535. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะขาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 110 น.
มนตรี ทศานนท์. 2533. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าลำไย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 121 น.
วัฒนา สวรรยาธิปัติ. 2527. การปลูกมะม่วง. ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม. 64 น.
วิจิตร วังใน. 2529. มะม่วง. บริษัท ศรีสมบัติการพิมพ์ จำกัด , กรุงเทพมหานคร. 301 น.
Barden, J.A. 1974. Net photosynthesis, dark respiration, specific leaf weight and growth of young apple trees as influenced by light regime. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 99: 547-551.
Barden, J.A. 1977. Apple tree growth, net photosynthesis, dark respiration, and specific leaf weight as affected by continuous and intermittent shade. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 102: 391-394.
Beadle, C.L., M.M. Ludlow and J.L. Honeysett. 1985. Methods for stomatal aperture, p. 50-51. In J.Coombs, D.O. Hall, S.P.Long and O.M.Scurlock.(eds.). Techniques in Bioproductive and Photosynthesis. Pergamon Press Ltd., Oxford.
Devlin R.M. 1969. Plant Physiology. Van Nostrand Reinhold Company, New York. 446 p. Fails, B.S., A.J. Lewis and J.A. Barden. 1982. Anatomy and morphology of sun-and shade- grown Ficus benjamina. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 109: 807-812.
Fitter, A.H. and R.K.M. Hay. 1987. Environmental Physiology of Plants. 2nd edition. Academic Press, London. 423 p.
Hunt, R. 1982. Plant Growth Curve, the Functional Approach to Plant Growth Analysis. Edward Arnold, London. 248 p.
Kappel, F. and J.A. Flore. 1983. Effect of shade on photosynthesis, specific leaf weight, leaf chloro- phyll content, and morphology of young peach trees. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 108: 541-544.
Marini, R.P. and M.C. Marini. 1983. Seasonal changes in specific leaf weight, net photosynthesis and chlorophyll content of peach leaves as affected by light penetration and canopy position. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 108: 600-605.
Procter, J.T.A. 1981. Stomatal conductance changes in leaves of McIntosh apple trees before and after fruit removal. Can. J. Bot. 59: 50-53.
Schaffer, B. and G.O. Gaye. 1989. Gas exchange, chlorophyll and nitrogen content of mango leaves as influenced by light environment. HortScience 24: 507-509.
Syvertsen, J.P. and M.L. Smith, Jr. 1984. Light acclimation in citrus leaves. I. Changes in physical characteristics, chlorophyll, and nitrogen content. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 109: 807-812.