คุณภาพทางกายภาพและเคมีหลังการเก็บเกี่ยวของผลสตรอเบอรี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาคุณภาพทางกายภาพและส่วนประกอบทางเคมีของผลสตรอเบอรี่พันธุ์ Dover, Nyoho, Sequoia และ Tioga ที่เก็บเกี่ยวในระยะผลสีชมพูขาว ชมพู และแดง พบว่าพันธุ์ที่มีค่าความแน่นเนื้อสูงที่สุดคือพันธุ์ Dover ซึ่งมีค่าสูงถึง 0.80 กก. ขณะที่พันธุ์ Tioga, Nyoho และ Sequoia มีค่า 0.67 0.4 และ 0.51 กก. ตามลำดับ ค่าความแน่นเนื้อของผลสตรอเบอรี่จะลดลงตามการพัฒนาของสี คือ สีชมพูขาว ชมพู และแดง สตรอเบอรี่พันธุ์ที่มีค่าปริมาณของแข็ง ที่ละลายน้ำได้มากที่สุด คือพันธุ์ Nyoho (11.00ºบริกซ์) และพันธุ์ที่มีค่าที่มีค่าต่ำที่สุด คือ พันธุ์ Tioga (5.33ºบริกซ์) สำหรับค่าปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้นี้พบว่าแปรผกผันกับค่าความแน่นเนื้อของผล โดยพบว่า ผลที่แก่จนมีสีแดงจะมีค่าสูงมากกว่าผลสีชมพู และชมพูขาว ในด้านปริมาณกรดที่ไตเตรทได้พบมากที่สุดในพันธุ์ Nyoho (1.15%) และพันธุ์ที่พบต่ำที่สุดคือพันธุ์ Tioga (0.68%) ค่าปริมาณวิตามินซีสูงที่สุดพบในพันธุ์ Sequoia (42.47 มก./100 ก.น้ำหนักสุด) และพันธุ์ที่พบต่ำที่สุด คือ พันธุ์ Fioga (15.49 มก./100 ก.น้ำหนักสด) นอกจากนี้การยอมรับของผู้บริโภคในระยะที่ผลสตรอเบอรี่สุกแดงพบว่า พันธุ์ Sequoia ได้รับการยอมรับมากที่สุด
สีผิวและสีเนื้อของผลสตรอเบอรี่ทั้ง 4 พันธุ์มีความใกล้เคียงกัน และเมื่อเก็บรักษาผลสตรอเบอรี่ ณ สภาพอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จะเปลี่ยนสีจากสีชมพูขาวหรือสีชมพูเป็นแดงได้เร็วกว่าผลที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เมื่อวิเคราะห์ปริมาณเพคตินที่ละลายน้ำได้ พบว่า พันธุ์ Dover มีค่าสูงที่สุดเมื่อผลมีสีแดง ส่วนพันธุ์อื่น ๆ มีค่าใกล้เคียงกันที่ระยะเก็บเกี่ยวสีชมพูขาว ชมพู และแดง นอกจากนี้ พันธุ์ Dover ยังมีปริมาณเพคตินที่ละลายใน ammonium oxalate สูงที่สุดเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่น ๆ โดยมีค่าสูงที่สุดในระยะสีแดง (4.43 ก./100 ก.AIS) สีชมพู และชมพูขาวมีค่าต่ำลงมาตามลำดับ (4.10 และ 3.82 ก./100 ก.AIS) แต่ปริมาณเพคตินที่ละลายในกรดเกลือ กลับพบว่ามีค่าสูงที่สุดในพันธุ์ Sequoia ซึ่งพบในระยะสีชมพูขาว สตรอเบอรี่ทุกพันธุ์ที่ทดสอบมีค่าของปริมาณน้ำตาลรีดิวซิ่งมากกว่านันรีดิวซิ่ง ค่าของปริมาณน้ำตาลรวมและน้ำตาลรีดิวซิ่งของพันธุ์ Sequoia และ Nyoho สูงกว่าพันธุ์ Dover และ Tioga อย่างไรก็ตามไม่พบว่าค่าของน้ำตาลนันรีดิวซิ่งของผลสตรอเบอรี่ทุกพันธุ์แตกต่างกันทางสถิติ แต่พบความแตกต่างนี้ในค่าปริมาณแอนโธไซยานิน ซึ่งแปรตามระยะการแก่ของผล
Article Details
References
จริงแท้ ศิริพานิช. 2538. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม 396 น.
ชูพงษ์ สุกุมลนันทร์. 2531. สตรอเบอรี่. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 216 น.
ดนัย บุณยเกียรติ. 2538. เอกสารประกอบการอบรมการเพิ่มผลผลิตสตรอเบอรี่สำหรับงานอุตสาหกรรม. รุ่นที่ 1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 15 น.
ดนัย บุณยเกียรติ. 2540. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของพืชสวน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 222 น.
ดนัย บุณยเกียรติ และนิธิยา รัตนาปนนท์. 2535. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ. 145 น.
ประสาทพร สมิตะมาน 2538. เอกสารประกอบการอบรมการเพิ่มผลผลิตสตรอเบอรี่สำหรับงานอุตสาหกรรม.รุ่นที่ 1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 15 น.
ลักขณา รุจนะไกรกานต์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. 2531. หลักการวิเคราะห์อาหาร. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 270น.
สังคมเตชะวงค์เสถียร, 2532 2532. สตรอเบอรี่. วิทยาลัยอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. 33 น.
สุรพงษ์ โกสิยะจินดา. 2526. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้สด. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทยและสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ภาคเหนือ, กรุงเทพฯ. 331 น.
อัญชุลี ยินดี. 2539. การเปลี่ยนแปลงรงควัตถุในผลมะม่วงและลิ้นจี่ในช่วงก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 157 น.
Abeles, F.B. and F. Takeda. 1990. Cellulase activity and ethylene in ripening strawberry and apple fruits. Hort. Abstr. 60(9): 816.
Forney, C.F. and P.J. Breen. 1986. Sugar content and uptake in the strawberry fruit. J. Amer. Soc. Hort, Sci. 111 (2): 241-247.
Gonzalez, A.M.L., J.M.C. Sixto, S.G. Barron, G.M. Soto and J. R. Robles. 1995. Strawberry quality in relation to postharvest handing. Hort. Abstr. 65 (12): 1361.
Hirvi, T. 1984. Mass fragmentographic and sensory analyses in the aroma of some strawberry varieties. Hort. Abstr. 54 (1): 10.
Huber, D.J. 1985. Strawberry fruits softening : The potential roles of polyuronides and hemicelluloses. Hort. Abstr. 55 (5): 337.
Kosiyachinda, S., M. Kosittrakul, S. Ketsa, V. Vangnai, P. Tong-Umpai and K. Vanichkul. 1984. Harvesting indices of strawberries in Thailand. Kasetsart J. (Nats, Sci.) 18 : 92-98.
Miszczak, A., C.F. Forney and R.K. Prange. 1995. Development of aroma volatile and color during postharvest ripening of “Kent” strawberries. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 120 (4) : 650-655.
Naohara J. and M. Manabe. 1994. Molecular mass and solubility changes in pectins during storage of satsuma mandarin fruits (Citrus unshiu Marc.) J. Food Sci. 59(3) 578-580.
Pilando, L.S., R.E. Wrolstad and D.A. Heatherbell. 1985. Influence of fruit composition, maturity and mold contamination on the colour and appearance of strawberry wine. J. Food Sci. 50: 1121-1125.
Richmond, M.L., C.C.S. Brandao, J. I. Gray, P. Markakis and C.M. Stine. 1981. Analysis of simple sugars and Sorbitol in fruit by high-performance liquid chromatography. American chemical Society.
Sato, Y., O.Yamakaw and F. Honda. 1988. Varietal differences in fruit quality during ripening of strawberry. Hort. Abstr. 58(11): 914.
Smith, R.B. 1993. Strawberry. Horticulture Research Institute of Ontario, Vineland Station, Canada. p 4423-4426.
Sobczyiewicz, D. 1967. The effect of temperature on the ripening of strawberries harvested at different stages of maturity. Hort. Abstr. 37(2): 303.
Spays, S.E. and J.R. Morris. 1981. Physical and chemical characteristics of puree from once over harvested strawberries. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 106(1): 105-109.