การจำแนกพันธุ์ลำไยโดยวิธีอิเล็กโทรโฟรีซิส

Main Article Content

ปนัดดา กาญจนะ
เกศิณี ระมิงค์วงศ์

บทคัดย่อ

ทำการจำแนกพันธุ์ลำไยจำนวน 16 พันธุ์ คือพื้ นเมืองลำพูน กระดูก ชมพูน้ำ ชมพูสร้อยทอง ใบหดเบี้ยวเขียวเชียงใหม่ แดงกลม น้ำผึ้ง เบี้ยวเขียวป่าเส้า แห้ว พวงทอง อีเหลือง เขียวพระอินทร์ ใบดำ พื้นเมืองน่าน และพันธุ์ดอ 8 สายพันธุ์ ได้แก่ ดอดอนไชย ดอยอดแดง ดอยอดขาว ดอหอม ดอก้านแข็ง ดอก้านอ่อน ดอน่าน ดอทาน้อย


            พบว่าวิธีอิเล็กโทรโฟรีซิสสามารถใช้จำแนกพันธุ์ลำไยได้ โดยการสกัดไอโซไซม์จากใบแก่ลำไย ด้วยสารสกัด 0.05 M Tris-HCl buffer, pH 8.4 (150 mm NaCl, 10 mM cysteine, 1 mM ascorbic acid, 1 mM CaCl2, 1 mM Na2 EDTA, 2% nicotine) ใช้โพลีอะคริลาไมด์ เจลเข้มข้น 8.5 เปอร์เซ็นต์ สำหรับไอโซไซม์ peroxidase และอะคริลาไมด์ เจลเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ สำหรับไอโซไซม์ acid phosphatase, esterase ลำไย 16 พันธุ์สามารถจำแนกออกจากกันได้ด้วยเอนไซม์ peroxidase, acid phosphatase และ esterase ส่วนลำไยพันธุ์ดอ 8 สายพันธุ์ สามารถจำแนกออกจากกันด้วยเอนไซม์ peroxidase และ acid phosphatase รูปแบบของไอโซไซม์ที่วิเคราะห์ได้มีจำนวนแถบสีแตกต่างกัน คือ peroxidase, acid phosphatase และ esterase มี 10, 10 และ 3 แถบตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศิณี ระมิงค์วงศ์. 2528. การจัดจำแนกไม้ผล. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 289 น.
พิชัย สราญรมย์. 2532. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับลำไยเพื่อการศึกษาระดับปริญญา. วิทยาลัยรำไพพรรณี, จันทบุรี. 271 น.
เพิ่งพงษ์ ศรีประเสริฐศักดิ์, สมนึก พรมแดง และสมบูรณ์ บุญปรีชา. 2532. รายงานการวิจัยการจำแนกสาย พันธุ์พืชเศรษฐกิจด้วยรูปแบบไอโซไซม์. หน่วยชีวเคมีและห้องปฏิบัติการกลาง ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและ เรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 40 น.
สัมฤทธิ์ เฟืองจันทร์. 2523. หลักไม้ผล. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 122 น.
อาภัสสรา ชมิดท์. 2537. เทคนิคอิเล็กโทรโฟรีซีส. ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 106 น.
Hiratsuka, S., K. Ichimura, E. Takahashi and N. Hirata. 1986. Analysis of proteins in developing style and ovary with reference to self-incompatibility of Japanese pear. J. Japan. Soc. Hort. Sci. 55(2): 145 152.
Pasteur, N., G. Pasteur, F. Bonhomme, J. Calalan and J. Britton-Daidian. 1988. Practical Isozyme Genetics. Ellis Horwood Ltd., London. 215 p.
Ramingwong, K. and K. Chiewsilp. 1994. Genetic Resources of Longan in Northern Thailand. Final Report Submitted to Chiang Mai University, Chiang Mai. 76 p.
Torres, A.M. 1983. Fruit Tree, part B, p. 401-421. In Tanksley S.D. and T.J. Orton (eds.). Isozymes in Plant Genetic and Breeding. Elsevier Sci. Pub. Co., Amsterdam
Wendel, J.F. and N.F. Weeden. 1989. Visualization and interpretation of plant isozyme, p. 5-45. In Soltis D.E and P.S. Soltis (eds.). Isozyme in Plant Biology. Dioscorides Press, Oregon.