ผลของวิธีการจัดการวัชพืชแบบต่างๆต่อการให้ผลผลิตข้าวโพด
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทำการทดลองในแปลงทดลองคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2540 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดวัชพืชแบบต่างๆ ที่มีต่อการให้ผลผลิตของข้าวโพด (พันธุ์สุวรรณ 3) พบว่าการกำจัดวัชพืชด้วยมือ 1 ครั้งที่ 15 วันหลังปลูก จะเพิ่มผลผลิตข้าวโพดได้ถึง 29.0% โดยที่การกำจัดวัชพืชเพิ่มขึ้นอีก 1 ครั้งที่ 30 วัน จะให้ผลผลิตสูงขึ้น 63.09% และการกำจัดวัชพืชเพิ่มอีก 1 ครั้งที่ 45 วันหลังปลูก จะสามารถให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 75.8% เปรียบเทียบกับสภาพที่ไม่มีการกำจัดวัชพืชการใช้สารกำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก propisochlor (2-chloro-N-(isopropoxy methyl-N-(2-ethyl-6-methylphenyl)-acetamide) อัตรา 172.8 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ครั้งเดียวจะเพิ่มผลผลิตข้าวโพดได้ 37.1% โดยที่ถ้าหากมีการใช้แรงงานคนกำจัดวัชพืชอีกครั้งที่ 45 วันหลังปลูกจะเพิ่มผลผลิตได้ 57.29% ส่วนการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทสัมผัสตาย paraquat (1, 1/-dimethyl-4,4/-bipyridinium ion) อัตรา 110.4 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ พ่นภายหลังการใช้สาร propisochlor 45 วัน จะให้ผลผลิตเพิ่ม 45.9% โดยที่การใช้สาร paraquat อย่างเดียวพ่นภายหลังการปลูกข้าวโพด 45 วันจะเพิ่มผลผลิตได้ 28.8% การทดลองนี้ยังพบว่าการปล่อยให้วัชพืชขึ้นแก่งแย่งแข่งขันตลอดอายุปลูกข้าวโพดนั้นจะทำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลงเหลือเพียง 327.83 กิโลกรัม/ ไร่ เท่านั้น
Article Details
References
พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. สำนักพิมพ์รั้วเขียว. วี.บี.บุ๊คเซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ. 585 หน้า.
ไพฑูรย์ กิตติพงษ์, ไชยยศ สุพัฒนกุล และ ยูซุบ ชัยมานิต. 2539. อิทธิพลของ metolachlor ต่อผลผลิตของการปลูกพืชเหลื่อมฤดูระหว่างข้าวโพด และถั่วลิสง. รายงานผลการค้นคว้าวิจัย. กองพฤกษศาสตร์และวัชพืช กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2):433-439.
สถาบันวิจัยพืชไร่. 2537. เอกสารวิชาการการปลูกพืชไร่. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 287 หน้า.
สำนักวิจัยและพัฒนาเกษตรเขตที่ 5. 2539. การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในภาคกลาง. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 53 หน้า.
Vangessel, M.J.; E.E. Schweizer ; K.A. Garrett and P. Westra. 1995. Influence of weed density and distribution on corn (Zea mays) yield. Weed Sci. 43: 215-218.