ผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบพาสซีฟต้านฮอร์โมนเทสทอสเตอร์โรนต่อการทำงานของรังไข่หลังคลอดของแม่โคนมลูกผสมพื้นเมือง x โฮลสไตน์

Main Article Content

อภิชาติ รัตนวนิช
เพทาย พงษ์เพียจันทร์
วิชาญ สุขประเสริฐ
พันทิพา พงษ์เพียจันทร์
ชาตรี ทองอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบพาสซีฟ (passive irrnunization) ด้านฮอร์โมนเทสทอสเตอร์โรน (Testosterone) ต่อการทำงานของรังไข่หลังคลอดในโคนมลูกผสมพื้นเมือง x โฮลสไตน์. สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (immunogen) เตรียมจากการเชื่อมระหว่างโมเลกุลของ Testosterone-3-(O-Carboxymethyl)Oxime กับ Human Serum Albumin (HSA) เป็น Testosteronc-3- (O-Carboxymethyl)Oxime-HSA (T4-HSA) สัจว์ทดลองกลุ่มแรกเป็นกระต่ายลูกผสมพื้นเมือง x นิวซีแลนด์ขาวสำหรับทดสอบฤทธิ์สารกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่เตรียมขึ้นใช้เองในการกระตุ้นการผลิตแอนติบอดีย์ในร่างกายสัตว์เป็นการทดสอบเบื้องต้นก่อนนำไปทดลองกับลูกโค การทดสอบผลการกระตุ้นใช้เทคนิคเรดิโออิมมูนโนแอสเซ (Radioimmunoassay, RIA) กลุ่มที่สองเป็นลูกโคนมจาก ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อผลิตแอนติบอดีย์ สำหรับนำไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบพาสซีฟให้กับแม่โคนมลูกผสม กลุ่มที่สาม เป็นแม่โคนมลูกผสมที่อยู่ในศูนย์นี้เช่นเดียวกัน. แผนการทดลองเป็นแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) โดยมีกลุ่มการทดลองเป็น: กลุ่มควบคุม และกลุ่มกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบพาสซีฟต่อต้าน T4-HSA. ผลการทดลองพบว่า T4-HSA สามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีย์ต้านเทสทอสเตอร์โรนได้ทั้งในกระต่ายและลูกโค  กล่าวคือ กระต่ายสามารถสร้างแอนติบอดีย์วัดเป็นความสามารถในการเกาะกับเทสทอสเตอร์โรนที่ติดรังสีได้ 1,000 ถึง 3,000 cpm ตลอดระยะเวลาการทดลอง 10 สัปดาห์ ในลูกโคสามารถผลิตแอนติบอดีย์วัดเป็น %Binding กับเทสทอสเตอร์โรนที่ติดรังสีได้ 20-62 เปอร์เซ็นต์ขณะที่กลุ่มควบคุมจับได้เพียง 3-11 เปอร์เซ็นต์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบพาสซีฟต่อ T4-HSA พบว่าแม่โคนมทั้งหมดมีรอบการสืบพันธุ์เป็นปรกติและทุกตัวตั้งท้อง โดยสรุปการวิจัยครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าการกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบพาสซีฟต่อต้านฮอร์โมนเทสทอสเตอร์โรนมีแนวโน้มสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของโคนมได้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มณีวรรณ กมลพัฒนะ, กิติยา ศรีศักดิ์วัฒนะ และ โสภณ สรรเพชญ. 2531. การตรวจท้องโคนมระบบบริการ และผลงาน. ใน: บทบาทการตรวจท้องโคนมจากน้ำนม. หน้า 73-126. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เพทาย พงษ์เพียจันทร์ และ ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร. 2533. การประเมินประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของโคนมโดย วิธีเรดิโออิมมูนโนแอสเซ. วารสารเกษตร 6(1): 21-40.
ศุภมิตร เมฆฉาย. 2539. ประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของโคและสุกร ภายหลังการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อฮอร์โมนเทสทอสเตอร์โรน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Apichartsrungkoon, T. and P. Pongpiachan. 1990. Use of milk progesterone profile, for the study of fertil ity in the postpartum period of dairy cow. J. Agri culture 6 (3): 219-225
Dobson, H. 1983. A Radioimmunoassay Laboratory Handbook. Liverpool University Press, Liverpool. D'Occhio, M.J., D.R. Gifford R.M. Hoskinson, T. Weatherly and B.P. Setchell. 1988. Gonadotrophin secretion and ovarian responses in prepubertal heifers actively immunized against androstenedione and oestradiol-17β. J. Reprod. Fertil. 159-168.
Erlanger, B.F., F. Borek, S.M. Beiser and S. Leiberman. 1957. Steroid-protein conjugates. I. Preparation and characterization of conjugates of bovine serum albumin with testosterone and with cortisone. J. Biol. Chem. 228: 713-727.
Lermite, V., J. Thimonier, R. Dufour and M.Terqui. 1991. Effect of the increase of steroid binding plasma levels after passive immunization against testosterone on the control of luteinizing hormone (LH) secretion in ovariectomized underfed dairy heifers. Reprod. Nutr. Dev. 31(5): 541-549.
Lermite, V., L. Delaby, J. Thimonier, R. Dufour and N. Terqui. 1993. Effect of passive immunization against testosterone on reproductive hormone secretion and ovarian function in dairy cows and pubertal beef heifers. Theriogenology 39(2): 507-526.
Nieschlag, E., H.K. Usadel, H.K. Kley, U. Schwedes, K. Schoffling and H.L. Kruskemper. 1974. A new approach for investigating hypothalamo-pituitary gonadal and adrenal feedback control mechanism: Active immunization with steroids. Acta Endocrinol. 76: 556-569.
Stoebel, D.P. and G.P. Moberg. 1979. Effect of ACTH and cortisol on estrus behavior and the luteinizing hormone surge in the cow. Fed. Proc. 38: 1254.
Verssiere, G., M. Berger, Ch. Jean-Faucher, M. de Turchheim and Cl. Jean. 1984. Pituitary and gonadal function in pubertal and adult male rabbits with psuedohermaphrodism secondary to immunization of mothers against testosterone. Acta Endocrinologica 107: 550-555.
Witing, Ch. E.J., E.J. Wickings and E. Niescchlag. 1979. Incidence of immune complex nephritis following active immunization with a testosterone-3-BSA conjugate or BSA alone. Acta Endocrinologica 90: 562-567.
Younglai, E.V. and B.W. Armstrong. 1981. Peripheral concentration of gonadotropins and progestins during pregnancy in rabbits after active immunization against testosterone. Fertility and Sterility 36(2): 232-237.
Zarrow, M.X., J.M. Yochim, J.L. McCarthy and R.C. Sanborn. 1964. Experimental Endocrinology: A Textbook of Basic Techniques. Academic Press, New York.