การใช้สารกำจัดวัชพืช Fenoxaprop-p-ethyl และ Lactofen ในถั่วเหลืองปลูกหลังข้าว

Main Article Content

พรชัย เหลืองอาภาพงศ์

บทคัดย่อ

ทำการทดลอง 2 การทดลองในแปลงของเกษตรกรระหว่างเดือน ธันวาคม 2535 มีนาคม 2536 เชียงใหม่ ทำการพ่นสารกำจัดวัชพืชแบบหลังงอกหลังจากปลูกถั่วเหลือง 17 และ 24 วัน ด้วยถังพ่นแบบสะพายหลังที่มีปริมาณน้ำ (Spray volume) 80 ลิตร/ไร่ ผลการทดลองพบว่า สาร Fenoxaprop-p-ethyl ((±)-2- [4[(6-chloro-2-benzoxazolyloxy)]phenoxy]-propanoic acid) อัตรา 9.0 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่  ที่พ่นเดี่ยว ๆ หลังปลูกถั่วเหลือง 17 วัน ให้ผลดีเยี่ยมในการควบคุมวัชพืชประเภทใบแคบฤดูเดียววงศ์หญ้าพวก หญ้าตีนนก (Digitaria adscendens) หญ้าตีนกา (Eleusine indica) หญ้าข้าวนก (Echinochloa crus-gali) และหญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium) โดยที่สารเคมีชนิดนี้จะไม่มีผลทำให้ถั่วเหลืองแสดงอาการเป็นพิษแต่อย่างใด ซึ่งการใช้สารเคมีนี้เพื่อควบคุมวัชพืชประเภทใบแคบวงศ์หญ้าจะสามารถเพิ่มผลผลิตได้ 13% เมื่อเทียบกับสภาพที่ไม่มีการการจัดวัชพืช ส่วนการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใบกว้าง Lactofen ((±)-2-ethoxy-1-methyl-2-oxyethyl-5-[2-chloro-4-(trifluormethyl)phenoxy]-2-nitrobenzoate) นั้นพบว่า เมื่อพ่นเดียว ๆ ในอัตรา 14.4-19.2 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ จะสามารถควบคุมวัชพืชประเภทใบกว้างฤดูเดียวพวก โทงเทง (Physalis minimia), สาบแร้งสาบกา (Ageratum conyzoides) กะเม็ง (Eclipta alba) และผักโขมหนาม (Amaranthus spinosus) ได้ดีเยี่ยม แต่จะมีผลทำให้ถั่วเหลืองแสดงอาการเป็นพิษหลังพ่น การใช้สาร Lactofer ผสมกับสาร Fenoxaprop-p-ethyl จะทำให้ประสิทธิภาพ การควบคุมวัชพืชประเภทใบแคบวงศ์หญ้าฤดูเดียวของสาร Fenoxaprop-p-ethyl ลดลง  อย่างไรก็ตามการใช้สาร Fenoxaprop-p-ethyl ผสมกับสาร Lactofen นี้จะไม่สามารถเพิ่มผลผลิตถั่วเหลือง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรูญ พรหมชุม. 2535. ผลของความชื้นดินและสารกำจัดวัชพืชต่อการควบคุมวัชพืชในถั่วเหลือง. เอกสารประกอบการประชุมวิทยาการวัชพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ณ. โรงแรม โกลเด้นดรากอน นนทบุรี.
จรูญ พรหมชุม และจันทร์เพ็ญ เบ็ญจรูญ. 2536. ผลของวิธีการกำจัดวัชพืชต่อถั่วเหลือง (Glycine max) ที่ปลูกในฤดูฝน และแล้ง. วิทยาสาร สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย(1): 52 62.
ชาตรี พิทักษ์ไพรวัลย์, บุญรัตน์ นันทะ และเยี่ยมศักดิ์ วงษ์เมฆ. 2530. การใช้สารกำจัดวัชพืชหลังงอกในแปลง ถั่วเหลือง. รายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องงานวิจัยถั่วเหลือง ครั้งที่ 2 ณ . โรงแรมไพลิน พิษณุโลก: 581-592.
ทรงเชาว์ อินสมพันธ์, วีระชัย ศรีวัฒนพงศ์ และ โกศล เม่งอำพัน. 2529. ผลของวิธีการกำจัดวัชพืชต่อการ เจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วแหลืองที่ปลูกปลายฝน. วารสารเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2(2): 185-204
ศิริวัฒน์ ขัตติยะการุณ และ วีระวุฒิ กตัญญกุล. 2530. วิป สารกำจัดวัชพืชใบแคบชนิดใหม่ในถั่วเหลือง. รายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องงานวิจัยถั่วเหลืองครั้งที่ 2 ณ. โรงแรมไพลิน พิษณุโลก: 295-300.
อนุสรณ์ ธาดากิตติสาร และ อริยันต์ ลิ้มมณี. 2532. การทดลองใช้เปอร์ซูท (AC 263,499) ในการควบคุม และกำจัดวัชพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเหลือง. การแถลงผลงานทางวิชาการ. กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับภาคเอกชนประจำปี 2531 59-65.
อิงอร ปัญญากิจ และ รังสิต สุวรรณเขตนิคม. 2537. การใช้สารกำจัดวัชพืชกลุ่ม Diphenyl ether ควบคุมวัชพืชใบกว้างในถั่วเหลืองแบบหลังงอก. รายงานการประชุมวิชาการวัชพืชแห่งประเทศไทย ณ. โรงแรมโฆษะขอนแก่น. 138 -155.
Sajjaponse, A. and M.H. Wu. 1985. Soybean weed control. Proceedings of Symposium, Soybean in Tropical and Subtropical Cropping System. AVDRC. Japan: 203-213.