คุณภาพของผลพลับพันธุ์ Xichu ที่กำจัดความฝาดโดยสภาพสูญญากาศ

Main Article Content

ดนัย บุณยเกียรติ
สุระศักดิ์ ชาญชำนิ
มาโนช ปราครุฑ

บทคัดย่อ

ผลพลับพันธุ์ Xichu ซึ่งกำจัดความฝาดโดยวิธีสูญญากาศและคาร์บอนไดออกไซด์มีคุณภาพที่แตกต่างกัน ผลพลับที่กำจัดความฝาคโดยวิธีสูญญากาศมีลักษณะปรากฏดีกว่าผลพลับที่กำจัดความฝาดโดยวิธีใช้คาร์บอนไดออกไซด์  นอกจากนั้นยังมีความแน่นเนื้อสูงกว่า และอายุการเก็บรักษานานกว่าด้วย เมื่อเก็บรักษาผลพลับซึ่งกำจัดความฝาดโดยวิธีสูญญากาศนาน 13 สัปดาห์ที่ 4 องศาเซลเซียส  ผลพลับมีคุณภาพลดลง โดยความแน่นเนื้อจะลดอย่างเห็นได้ชัดในสับปดาห์ที่ 11 ของการเก็บรักษาปริมาณกรดที่ไตเตรทได้มีแนวโน้มลดลง  ส่วนปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ลดลงในช่วง 4 สัปดาห์แรกของการเก็บรักษาแล้วจึงมีปริมาณคงที่จนสิ้นสุดการเก็บรักษา ปริมาณวิตามินซีของผลพลับลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 13 สัปดาห์ ผู้บริโภคยอมรับลดลงเมื่อวางผลพลับไว้ที่อุณหภูมิห้องเกินกว่า 1 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปวิณ ปุณศรี. 2536. คู่มือการปลูกไม้ผลเขตหนาวที่สำคัญ 5 ชนิด. กองพัฒนาเกษตรที่สูง. 85 หน้า.
มานิตย์ โฆษิตตระกูล. 2525. การขจัดความฝาดในผลพลับด้วยแก๊ส CO2, และการเก็บรักษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 47 น.
สุรินทร์ นิลสำราญจิต. 2534. เอกสารคำสอนไม้ผลเขตหนาว, ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า 119-130.
Ben- Arie, R. and Y. Zutkhi. 1992. Extending the storage life of Fuyu persimmon by modified- atmosphere packaging. HortSci. 27(7): 811-813.
Grant, T. M., E. A. Macrae and R.J. Redgwell. 1992. Effect of chilling injury on physicochemical properties of persimmon cell walls. Phytochemistry. 31(11): 3739-3744.
Kawada, K. 1982. Use of polymeric films to extend postharvest life and improve marketability of fruits and vegetables-Unipack : Individual wrapped storage of tomatoes, oriental persimmon and grapefruit, p. 87-99. Im: D.G. Richardson and M. Meheriuk (eds).Controlled atmospheres for storage and transport of perishable agricultural commodities. Sym. 1, corvallis, Ore. Timber Press, Oregon
Mapson, L.W. 1970. Vitamins in Fruits. In A.C. Hulme (ed). The Biochemistry of Fruits and Their Products. Academic press. New York. 369-984.
Monselise, S. P. 1986. CRC Handbook of Fruit Set and Development. CRC press Inc., Boca. Raton. Florida. P. 355-370.
Wright, K. P. and A. A. Kader. 1997. Effect of slicing and controlled-atmosphere storage on the ascorbate content and quality of strawberries and persimmons. Postharvest Bio. Tech. 10: 39-48.
Yonemori, K. and J. Matsushima. 1987. Morphological characteristics of tannin cells in Japanese persimmon fruit. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 112(5): 812 817.