การรวบรวมและศึกษาการเจริญของพืชสกุลกระเจียวบางชนิด

Main Article Content

วรรณภา วีระภักดี
อดิศร กระแสชัย

บทคัดย่อ

การรวบรรวบรวมพันธุ์พืชสกุลกระเจียวจำนวน 9 ชนิด จากถิ่นเดิมคือจากจังหวัดนครราชสีมา 2 ชนิด ได้แก่ กระเจียวท่าอ่าง (Curcuma sessilis Gage) และกระเจียวสูงเนิน (Curcuma sp.) จากจังหวัดชัยภูมิ 4 ชนิด ได้แก่ กระเจียวบัวชัยภูมิ (C. alismatifolia Gagnep.) ขมิ้นชัน (C. domestica Valeton) บัวชั้น (Curcuma sp.) และเทพรำลึก (C parviflora Wall.) จากจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3 ชนิด ได้แก่ กระเจียวส้ม (C. roscoeana Wall.) กระเจียวแดง (Curcuma sp.)  และขมิ้นอ้อย (C. Zedoaria Roscoe) และซื้อจากตลาดนัดสวนจตุจักร 1 ชนิดคือ บัวโกเมน (Curcuma sp.) พบว่าพืชสกุลกระเจียวทั้ง 10 ชนิดนี้มีความ แตกต่างกันในขนาด และรูปร่าง ลักษณะของดอก และลำต้น


จากการนับจำนวนโครโมโซมของพืชทั้ง 10 ชนิด พบว่ามีจำนวนโครโมโซมตั้งแต่ 24.63 แท่ง โดยเป็นการรายงานครั้งแรกจากการศึกษาในครั้งนี้ 3 ชนิดคือ กระเจียวแดง กระเจียวท่าอ่า งกระเจียวสูงเนิน โดยมีจำนวนโครโมโซมที่นับได้ 42, 56 และ 56 แท่ง ตามลำดับ นอกจากนี้การใช้เทคนิคอิเล็กโทรโฟรีซิสเพื่อการศึกษา ไอโซไซม์ esterase และ peroxidase พบว่าไอโซไซม์ esterase สามารถบ่งบอกความแตกต่างของพืชสกุลกระเจียวทั้ง 10 ชนิดได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เคียรา อลีซี, พวงเพ็ญ ศิริรักษ์ และพิมพ์ใจ อาภาวัชรุตม์. 2538. การจำแนกชนิดของพืชกลุ่มกระเจียวพันธุ์เบา บางชนิดโดยใช้ความแตกต่างของไอโซไซม์. บทคัดย่อการประชุมวิชาการทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21. โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ จอมเทียน , ชลบุรี, หน้า 352-353.
จีรวัฒน์ ภู่บัวเผื่อน. 2535. การเจริญเติบโต และการพัฒนาดอกของปทุมมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 82 หน้า.
นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, วิภาดา ทองทักษิณ, ธนวัฒน์ รัตนากร และบุญแถม ถาคำฟู. 2538. การรวบรวมและศึกษาพันธุ์กระเจียว, วิทยาสารสถาบันพืชสวน 15(11): 1-13.
พิชัย มณีโชติ, วัฒนา เสถียรสวัสดิ์ และกิตติพงศ์ คิศรานนท์. 2536. คุยกันเรื่อง อนาคตของ Curcuma (กระเจียว). เคหการเกษตรฉบับอุตสาหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ. หน้า 107-166.
พิมพ์ใจ อาภาวัชรุตม์, ถกลวรรณ ศิริสวัสดิ์, พวงเพ็ญ ศิริรักษ์, พิศิษฐ์ วรอุไร และฉันทนา สุวรรณธาดา. 2539. การศึกษาจำนวนโครโมโซมของพืชกลุ่มกระเจียวไทย 17 ชนิด. รายงานการประชุมวิชาการไม้ดอกไม้ ประดับแห่งชาติครั้งที่ 2. 14-17 กุมภาพันธ์ 2539. โรงแรมดวงตะวัน, เชียงใหม่. หน้า 86-99.
รุ่งทิวา ว่องวิทย์การ. 2529. ชีววิทยาของหนอนม้วนใบถั่วเหลือง Lamprosema diemenalis Guen. (Lepidoptera: Pyralidae) และการป้องกันกำจัดบางวิธี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 83 หน้า.
สุรชาติ คูอาริยะกุล. 2539. เอกสารประกอบคำบรรยายการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ผลกระทบของโรคหัวเน่าของปทุมมาต่อการผลิตและการส่งออก” วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2539. ณ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขต 1 อ. สันทราย จ.เชียงใหม่.
สุรวิช วรรณไกรโรจน์. 2539. ปทุมมาและกระเจียวไม้ดอกไม้ประดับ. สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 127 หน้า.
Bailey, L.H. 1961. The Standard Cyclopedia of Horticulture. Vol I. A-E. The Macmillan Company, New York. 20 p.
Hutchinson, J. 1973. The Families of Flowering Plants. Oxford University Press, London. 968 p.
Pujari, P.D., R.B. Patil and R.T. Sakpal. 1986. “Krishna” a high yielding variety of turmeric. Abst. Trop. Agr. 12(9): 118.
Purseglove, J.W. 1972. Tropical Crops Monocotyledon 2. Longman Group Ltd., London. 607 p.