การปรับปรุงพันธุ์ผักกาดหัวลูกผสมชั่วที่หนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ทำการตรวจสอบลักษณะการผสมตัวเองไม่ติดของผักกาดหัว (Raphanus sativus var. longipinmatus Linn.) จำนวน 9 พันธุ์ ด้วยวิธีผสมดอกตูมและดอกบานในช่อเดียวกัน (seed set analysis) และวิธีตรวจสอบหลอดเกสรตัวผู้ในก้านชูเกสรตัวเมีย (fluorescent microscope technique) พบว่าทุกพันธุ์มีลักษณะการผสมตัวเองไม่ติดและทำการผสมข้ามแบบพบกันหมด (cross all combination) เพื่อคัดเลือกคู่ผสมที่ดี โดยดูจากจำนวนเมล็ดที่ผลิต ได้และจากการทดสอบพันธุ์โดยบริษัทเอกชน พบว่า พันธุ์ 27 X 18 ให้เมล็ดจำนวน 0.68 กรัม/ฝัก และเป็นพันธุ์ที่มีลักษณะดีทางพืชสวน คือ มีความสม่ำเสมอของสายพันธุ์ใบสีเขียวเข้มไม่มีหนาม หัวยาว ทรงกระบอก ผิวเรียบ เนื้อภายในไม่ฟ่าม น้ำหนักหัวประมาณ 350-400 กรัม ซึ่งเป็นที่ยอมรับของตลาด ผลผลิตของหัวผักกาดลูกผสมเหล่านี้ได้เคยทดสอบแล้วว่า ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ตลาดหลายเท่าตัว จึงควรนำเอาไปทดสอบในแปลงเกษตรกรต่อไป
Article Details
References
Haruta, T. 1962. Studies on the genetics of self and cross incompatibility in cruciferous vegetables. Takii Breeding Expt. Sta., Res. Bul2 Kyoto. 169 p.
Na-Lumpang,N., M.Wivutvongvana, P.Lumyong, P.Tanee, P.Wivutvongvana, N.Rodwatanakul, W.N.Anan and S.Utasuk.1987. Vegetable Seed Production in Thailand. Annual Report. Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.
Na-Lumpang,N., M.Nikornpun and U.Tan-Kim-Yong 1990-91. Vegetable Seed Production in Thailand. Annual Report. Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.
Shinohara, S. 1981. Principle of Vegetable Seed Production. JICA. Japan. 225 p.
Wivutvongvana, M., P.Lumyong, P.Wivutvongvana and P.Tanee. 1987. Vegetable Seed Production in Thailand. Annual Report. Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.