การตอบสนองทางสรีรวิทยาของโสมเกาหลีอายุต่างๆต่อความเข้มแสงและความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

Main Article Content

ปฏิรูป ศิลปรัตน์
พิทยา สรวมศิริ

บทคัดย่อ

การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความเข้มแสง และความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของโสมเกาหลีปลูกบนพื้นที่สูงทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยศึกษากับต้นโสมเกาหลีอายุหนึ่งปี, อายุสองปีและอายุสามปีและวางแผนการทดลองแบบ split plot design แบบสุ่มสมบูรณ์เปรียบเทียบความเข้มข้นของ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 3 ระดับ และความความเข้มแสงที่ 3 ระดับพบว่า ความเข้มแสงที่ระดับ 6,000 และ 10,000 ลักซ์  ถึงแม้จะทำให้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตของส่วนเหนือดินสั้นลง และทำให้ปริมาณคลอโรฟิลล์ต่อหน่วยน้ำหนักลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับที่ 4,000 ลักซ์ แต่จะทำให้ปริมาณ TNC ในใบ และปริมาณ TNC ที่สะสมในรากเพิ่มขึ้น โดยต้นพืชทั้งสามอายุจะตอบสนองต่อความเข้มแสงในทำนองเดียวกัน


การเพิ่มความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากระดับบรรยากาศปกติ (180-250 สตล.) เป็น 600 และ 1,000 สตล. จะทำให้พืชมีระยะเวลาในการเจริญเติบโตของส่วนเหนือดิน เพิ่มขึ้นในต้นอายุหนึ่งปี และต้นอายุสองปี และทำให้ปริมาณ TNC ที่ สะสมในรากเพิ่มขึ้น


ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระดับ 600 สตล. ร่วมกับความเข้มแสง 6,000 ลักซ์ จะเหมาะสมที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของโสมเกาหลี โดยจะทำให้ฤดูกาลในการเจริญเติบโตสั้นลงเล็กน้อย แต่จะทำให้ปริมาณ TNC ที่สะสมในรากสูงที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดนัย บุญยเกียรติ. 2537. สรีรวิทยาพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 210 น.
สุจริต แซ่ตั้ง. 2531. ผลของ Paclobutrazol ต่อการออกดอกและการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาบางประการของลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Arnold, I. D. 1949. Copper enzymes on isolated chloroplasts polyphenol oxidase in Beta vulgalis. Plant Physiol. 24: 1-5.
Bert, G. D., A. G. Miquel and S. P. Long. 1997. More efficient plants: A consequence of rising atmospheric CO2 Ann. Re. Plant Physiol 48: 609-639.
Boardman, N. K. 1977. Comparative photosynthesis of sun and shade plants. Ann. Re. Plant Physiol. 28: 355-377.
Bowes, G. 1993. Facing the inevitable: plants and increasing atmospheric CO2 .Ann. Re. Plant Physiol. Plant Mol. Biol. 44: 309-332.
Hall, D. O. and K. K. Rao. 1994. Photosynthesis, 5th edition. Cambridge: Cambridge University Press. 211 p.
Hodge, J. E. and B. T. Hofreiter. 1962. Determination of reducing sugars and carbohydrates. pp.380-394. In R. L. Whistler and M. L. Wolform (eds.). Methods in Carbohydrates Chemistry. Vol. 2. Academic press, New York.
Mansfield, T. A., A. M. Hetherington and C. J. Atkinson. 1990. Some current aspects of stomatal physiology. Ann. Re. Plant Physiol. 41: 55-75.
Pittaya S., P., K. Ogaki and M. Sugino. 1991. Production of ginseng (Panax ginseng) in Nagano Prefecture Japan. Mem. Fac. Agr. Kinki Univ. 28: 71-78.
Sugino, M., P. Sruamsiri, K. Ogaki, S. Nilsamranchit, C. Chaimongkol and H. Tsutsui. 1995. Studies on cultivation of Panax ginseng in Thailand. I. Theoretical possibility of ginseng cultivation in the environmental different conditions. Mem. Fac. Agr. Kinki Univ. 28: 39-44.