ผลกระทบของการปลูกกาแฟต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของเกษตรกรบนที่สูงในภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

ธีระเดช พรหมวงศ์
นริศ ยิ้มแย้ม
วราพงษ์ บุญมา
นิธิ ไทยสันทัด
ประเสริฐ คำออน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาผลกระทบของการส่งเสริมการปลูกกาแฟต่อสภาวะเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมบนที่สูง และศึกษาระบบการผลิตกาแฟอราบีก้าที่เหมาะสมของเกษตรกรชาวเขาที่ปลูกกาแฟในภาคเหนือตอนบนทำการศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยแบบสหวิชาการ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรชาวเขา ร่วมกับวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยกำหนดคำถามหลัก  และเข้าไปพูดคุยพบปะกับเกษตรกรชาวเขาผู้ปลูกกาแฟ เกษตรกรจำนวนพื้นที่ที่นำมาศึกษา ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าระบบการปลูกกาแฟในสภาพปัจจุบันแบ่งได้ 3 ระบบ คือ


  1. ระบบการปลูกกาแฟอย่างเดียว

  2. ระบบการปลูกกาแฟร่วมกับพืชอื่น ได้แก่ ร่วมกับไม้ป่า หรือ ร่วมกับเมี่ยงและไม้ป่า หรือไม้ผลเศรษฐกิจ เเละ

  3. ระบบการปลูกกาแฟในสวนหลังบ้าน

ซึ่งแต่ละระบบการปลูกกาแฟมีลักษณะเด่นและด้อยของตนเอง มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมบนที่สูง ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้นกับการปลูกกาแฟในแต่ละระบบที่แตกต่างกัน จากข้อมูลสนับสนุนด้านต่าง ๆ ระบบการปลูกกาแฟร่วมกับไม้ผลเศรษฐกิจ น่าจะดีกว่าระบบอื่น ๆ เพราะเป็นการลดความเสี่ยงทางด้านการตลาดและศัตรูพืช เพราะมีความหลากหลายของพืชที่ปลูก ให้ผลตอบแทนสูงกว่าระบบอื่น ๆ มีการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องจากพืชที่ปลูกเป็นพืชยืนต้น เกษตรกรลดการบุกรุกทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอยเป็นแนวทางทำการเกษตรเพื่อจะนำไปสู่ระบบการเกษตรแบบยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิรัตน์ ณัฐติรัตน์. 2535. สภาพปัญหาบนที่สูง. เอกสารประกอบการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรที่สูงรุ่นที่ 1 ณ สถานีทดลองและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อัดสำเนา)
วิจิตร ถนอมถิ่น. 2535. การพัฒนากาแฟอาบีก้าในภาคเหนือ และสถานการณ์ปัจจุบัน. การสัมมนากาแฟอราบีก้าในช่วงทศวรรษหน้า. เชียงใหม่: โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ
กรมประชาสังเคราะห์. 2532. การพัฒนาทางด้านการเกษตร : การส่งเสริมเกษตรที่สูง กรมประชาสงเคราะห์. นิตยสารประชาสงเคราะห์ (32) กันยายน - ตุลาคม
อรัญ สุวรรณบุปผา. 2521. ผลกระทบโครงการพัฒนาที่สูงต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของชาวไทยภูเขาในภาคเหนือของประเทศไทย. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการปลูกพืชทดแทนและพัฒนาชุมชนที่สูง. 3-5 เมษายน 2521. ณ โรงแรมเพชรงาม. จ. เชียงใหม่
ปกรณ์ จริงสูงเนิน. 2531. การพัฒนาประชากรเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากร. เอกสารโครงการฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2531. โครงการพัฒนาที่สูงสามหมื่นไทย/สหประชาชาติ. กองอนุรักษ์ต้นน้ำ, กรมป่าไม้
ชูศักดิ์ วิทยาภัค. 2530. ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน. เชียงใหม่. โครงการศึกษาชุมชนภาคเหนือกับศักยภาพในการพัฒนาสถาบัน สังคม.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พรชัย ปรีชาปัญญา. 2531. ระบบเกษตรป่าไม้ และงานพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ที่สูง. กองอนุรักษ์ต้นน้ำ. กรมป่าไม้. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา. 2531. การจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ. ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา. คณะวนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พล. ต. อ.เภา สารสิน. 2534. การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในภาคเหนือ. เอกสารประชุมสัมมนา. 19-20 ธันวาคม 2534. ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่. โดยสำนักบริการวิชาการ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่