การเพิ่มปริมาณดอกสมบูรณ์เพศและการติดผลในมะม่วงแก้วโดยใช้ปุ๋ยใบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการทดลอง คือ การหาแนวทางเพิ่มปริมาณดอกสมบูรณ์เพศและการติดผลในมะม่วงแก้ว โดยเปรียบเทียบผลของโมโนโปแตสเซียมฟอสเฟทเข้มข้น 0, 1.25 และ 5% และผลของโปแตสเซียมไนเตรทเข้มข้น 0, 1 และ 7.5% เมื่อพ่นทางใบจำนวน 3 ครั้ง เว้นระยะห่าง 5 วัน เริ่มจากเมื่อเริ่มแทงช่อดอกเป็นต้นไป ปัจจัยร่วมในการศึกษา ได้แก่ ระยะพัฒนาการของช่อดอก 3 ระยะ คือ ระยะเดือยไก่ระยะช่อดอกยาว 5-10 ซม และระยะช่อดอกยาวประมาณ 20 ซม พบว่า ปุ๋ยใบทั้ง 2 ชนิด สามารถเพิ่มความยาวช่อดอก จำนวนกิ่งแขนงของช่อดอก จำนวนดอกรวมต่อช่อ จำนวนดอกสมบูรณ์เพศ และการติดผลในมะม่วงแก้วได้ โดยที่ปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรทเข้มข้น 1% จะเหมาะสมที่สุดโดยใช้ได้ผลดีกับช่อดอก ในทุกระยะการพัฒนา และไม่แสดงอาการเป็นพิษต่อใบและช่อดอกแต่อย่างใด
Article Details
บท
บทความวิจัย
References
ชยะ หัสดิเสวี และพีรเดช ทองอำไพ. 2529. ผลของสาร Pachlobutrazol ที่มีต่อการเจริญเติบโตทางกิ่งใบการออกดอก และติดผลของมะม่วงน้ำดอกไม้ทวายเบอร์ 4. รายงานการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 24 ภาคโปสเตอร์ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประเชิญ ร่วมกระโทก และ วิมล เอี้ยนชาศรี. 2530. การศึกษาการใช้ Potassium nitrate, Kinetin และ BA(6-Benzylaminopurine) เพื่อเร่งการออกดอกของมะม่วงพันธุ์เขียวเสวยและพันธุ์อกร่อง. ปัญหาพิเศษภาควิชาการเทคโนโลยีการผลิตพืช. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลาดกระบัง.
พิทยา สรวมศิริ. 2538. การบังคับยอดอ่อนมะม่วงให้ออกดอก : ผลของโมโนโปแตสเซียมฟอสเฟท. วารสารเกษตร 11(3): 286-292.
มงคล เกษประเสริฐ, สุภาภรณ์ ธานี, อรนุช เกษประเสริฐ และนพรัตน์ หยีกจันทร์. 2529. ผลของปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูงต่อ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีในใบและ การออกดอกติดผลของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้. รายงานการค้นคว้าวิจัย 2528. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
วิจารณ์ หล่อเพชร. 2530. การศึกษาการใช้โปแตสเซียมในเตรท, ไคนีติน, เอทธีฟอน และบีเอ เพื่อเร่งการออก ดอกนอกฤดูกาลของ มะม่วงพันธุ์อกร่องทองและพันธุ์เขียวเสวย. ปัญหาพิเศษ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง.
สันติ หาญวิชิต, พีรเดช ทองอำไพ, ชัยฤกษ์ สงวนทรัพยากร และลพ ภวภูตานนท์. 2532. ผลของสาร Pachlobutrazol ต่อการควบคุมขนาดทรงพุ่มและการออกดอกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ทวายเบอร์ 4 ภายหลังการตัดแต่งอย่างหนัก. รายงานการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Marschner, H. 1986. Mineral Nutrition of Higher Plants. Academic Press Inc. (London) Ltd. 674 pp. Mengel, K and E.A.Kirkby. 1987. Principles of Plant Nutrition. International Potash Institute. 4th Ed. Liebefeld/Bern. Switzerland. 686 pp.
ประเชิญ ร่วมกระโทก และ วิมล เอี้ยนชาศรี. 2530. การศึกษาการใช้ Potassium nitrate, Kinetin และ BA(6-Benzylaminopurine) เพื่อเร่งการออกดอกของมะม่วงพันธุ์เขียวเสวยและพันธุ์อกร่อง. ปัญหาพิเศษภาควิชาการเทคโนโลยีการผลิตพืช. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลาดกระบัง.
พิทยา สรวมศิริ. 2538. การบังคับยอดอ่อนมะม่วงให้ออกดอก : ผลของโมโนโปแตสเซียมฟอสเฟท. วารสารเกษตร 11(3): 286-292.
มงคล เกษประเสริฐ, สุภาภรณ์ ธานี, อรนุช เกษประเสริฐ และนพรัตน์ หยีกจันทร์. 2529. ผลของปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูงต่อ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีในใบและ การออกดอกติดผลของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้. รายงานการค้นคว้าวิจัย 2528. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
วิจารณ์ หล่อเพชร. 2530. การศึกษาการใช้โปแตสเซียมในเตรท, ไคนีติน, เอทธีฟอน และบีเอ เพื่อเร่งการออก ดอกนอกฤดูกาลของ มะม่วงพันธุ์อกร่องทองและพันธุ์เขียวเสวย. ปัญหาพิเศษ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง.
สันติ หาญวิชิต, พีรเดช ทองอำไพ, ชัยฤกษ์ สงวนทรัพยากร และลพ ภวภูตานนท์. 2532. ผลของสาร Pachlobutrazol ต่อการควบคุมขนาดทรงพุ่มและการออกดอกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ทวายเบอร์ 4 ภายหลังการตัดแต่งอย่างหนัก. รายงานการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Marschner, H. 1986. Mineral Nutrition of Higher Plants. Academic Press Inc. (London) Ltd. 674 pp. Mengel, K and E.A.Kirkby. 1987. Principles of Plant Nutrition. International Potash Institute. 4th Ed. Liebefeld/Bern. Switzerland. 686 pp.