วิธีการใช้ใบหม่อนที่เหมาะสมกับการเลี้ยงไหมลูกผสมเชิงเดี่ยว

Main Article Content

จิราพร ตยุติวุฒิกุล
วัชรี คงรัตน์
เฉลิมพงษ์ เจริญวิบูลย์พันธ์
ระพีพงศ์ เกษตรสุนทร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิธีการใช้ใบหม่อนพันธุ์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับการเลี้ยงไหม โดยใช้เลี้ยงไหมลูกผสมเชิงเดี่ยวชั่วแรก สายพันธุ์ญี่ปุ่น KT1 x KT21 ด้วยใบหม่อนพันธุ์นครราชสีมา 60 บุรีรัมย์ 60 บร. 51 บร. 4/2 และใบหม่อนผสมในอัตรา 1: 1 ระหว่าง หม่อนพันธุ์ดังกล่าว ทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ 10 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ช่วงเวลาที่ใช้เลี้ยงไหมแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะแรก เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2538 ระยะที่สอง ระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2538 และระยะที่สาม ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2538 ทำการทดลองที่ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากผลการทดลองพบว่าใบหม่อนพันธุ์บร. 51 และพันธุ์นครราชสีมา 60 ในแต่ละช่วงระยะการทดลองให้ความแข็งแรง (เปอร์เซ็นต์ไหมสุกและเปอร์เซ็นต์ดักแด้สมบูรณ์) และผลผลิต (เปอร์เซ็นต์การเข้าทำรัง เปอร์เซ็นต์การเข้าทำรังดีและเปอร์เซ็นต์เปลือกรัง) มากกว่าไหมที่เลี้ยงด้วยใบหม่อนพันธุ์อื่น ๆ ส่วนการเลี้ยงไหมด้วยใบหม่อนแบบผสม 2 พันธุ์ให้ผลค่อนข้างดีเท่าเทียมกับการให้ด้วยใบหม่อนชนิดเดียว และระยะเวลาที่ใช้ในการเลี้ยงไหมในแต่ละช่วงเวลาของการทดลองในรอบปีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2530. เอกสารแนะนำพันธุ์พืชของกรมวิชาการเกษตร. สถาบันวิจัยหม่อนไหม, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
กรมวิชาการเกษตร. 2523. หม่อนไหม. เอกสารวิชาการเล่ม 2. บริษัท วรวุฒิการพิมพ์ จำกัด . บางเขน, กรุงเทพฯ.
เธียรศักดิ์ อริยะ, สมหมาย นิลพันธุ์, สุชาติ จุลพล, สุวิทย์ อินทรวัลณ์กูล, กนก แสนศรี, ร. ต. สมัคร คอวนิช, ประเวช แสนนามวงศ์, นราชัย สิทธิกานต์, อุดม ธรรมปรานี, สำเริง วิชานา, ดวง คำดี และ กิตติชัย จันทคัต. 2533. การเปรียบเทียบหม่อนลูกผสมชุดที่ 3 ของศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี. น. 58-64. ใน รายงานผลการค้นคว้าวิจัยปี 2533. สถาบันวิจัยหม่อนไหม, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ
นราชัย สิทธิกานต์, สัมฤทธิ์ เคลือนไธสง, ทัศนีย์ อินทรวัลณ์กูล และ ชูชาติ วรรณวิศาล. 2534. ศึกษาหม่อนพันธุ์ต่าง ๆ ในการเลี้ยงไหมลูกผสมของสถานีทดลองหม่อนไหมบุรีรัมย์. น. 33-40. ใน รายงานผลการค้นคว้าวิจัยปี 2534. สถาบันวิจัยหม่อนไหม, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
ปาน ปั้นเหน่งเพชร, ชาญณรงค์ พูลศิลป์ และ สุธาทิพย์ ห้องทองแดง 2530. การศึกษาคุณลักษณะของไหมลูกผสมเชิงเดี่ยวชั่วแรกสายพันธุ์ญี่ปุ่น เพื่อใช้เป็นพันธุ์ขยายของสถานีทดลองหม่อนไหมนครราชสีมา. น. 144-148. ใน รายงานผลการค้นคว้าวิจัยปี 2530 ไหมต่างประเทศลูกผสม. สถาบันวิจัยหม่อนไหม, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
ปานปั้น เหน่งเพชร, ชาญณรงค์ พูลศิลป์, สุธาทิพย์ ห้องทองแดง และ ทรงสิทธิ์ สิงหวิสัย. 2536 การศึกษาคุณลักษณะของไหมลูกผสมเชิงเดี่ยวชั่วแรกสายพันธุ์ญี่ปุ่น เพื่อเป็นการใช้เป็นพันธุ์ขยายของสถานีทดลองหม่อนไหมนครราชสีมา. น. 30-33 ใน รายงายผลการค้นคว้าวิจัยปี 2536 ไหมต่างประเทศลูกผสม. สถาบันวิจัยหม่อนไหม, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
อุดม ธรรมปรานี, สมหมาย นิลพันธุ์, สุวิทย์ อินทรวัลณ์กูล, ชูชาติ จุลพล, กิตติชัย จันทรคัต, เธียรศักดิ์ อริยะนิมิตคอวนิช และ วิรัตน์ บุญชูวงศ์. 2533. เปรียบเทียบหม่อนลูกผสม ชุดที่ 2 ของสถานีทดลอง หม่อนไหมอุดรธานี, น. 279-292. ใน รายงานผลค้นคว้าวิจัยปี 2533. สถาบันวิจัยหม่อนไหม, กรม วิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.