ผลของการเปียกซ้ำต่อคุณภาพการสีของข้าวญี่ปุ่นฤดูนาปี

Main Article Content

ศุภศักดิ์ ลิมปิติ
วิบูลย์ ช่างเรือ

บทคัดย่อ

การศึกษาการเปียกซ้ำหลังการเก็บเกี่ยวของข้าวญี่ปุ่นในฤดูนาปี ได้กระทำที่คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ด้วยวิธีการจำลองการเปียกฝน โดยการพ่นน้ำให้กับข้าวเปลือกที่ถูกลดความชื้นไปจนถึงระดับที่กำหนดและใช้ปริมาณน้ำในการพ่นที่แตกต่างกัน  ผลการทดลองพบว่า ข้าวที่ถูกลดความชื้นจนเหลือ 15-21% เมื่อพ่นน้ำจนความชื้นเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม 3% และเก็บไว้นาน 12 ชั่วโมง


แล้วนำมาลดความชื้นจนเหลือ 12-13% และนำไปสี จะได้คุณภาพข้าวสารในแง่ 6 ต้นข้าว และ% ข้าวหักไม่แตกต่างจากข้าวที่ไม่โดนฝน แต่ข้าวที่ความชื้นเริ่มต้นเดียวกันนี้ เมื่อเปียกน้ำจนความชื้นเพิ่มขึ้น 6% เป็นเวลา 12 ชั่วโมง เมื่อนำมาลดความชื้นให้แห้งแล้วนำไปสีเช่นเดิม จะมี% ต้นข้าวต่ำลง ในขณะที่ % ข้าวหักเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับข้าวที่ไม่โดนฝน นอกจากนั้นยังพบด้วยว่า ความชื้นของข้าวเปลือกขณะที่โดนน้ำ และปริมาณน้ำที่ข้าวได้รับมีปฏิสัมพันธ์กันในการทำให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพการสี อย่างไรก็ตาม จากการทดลองนี้พบว่า การที่ข้าวญี่ปุ่นเปียกซ้ำหลังการเก็บเกี่ยวในปริมาณที่ทำให้ความชื้นเพิ่มขึ้น 3 และ 6% จะไม่มีผลต่อคุณภาพการสีมากนัก กล่าวคือ ปริมาณข้าวหักจะไม่เกิน 10% ซึ่งเป็นระดับที่ยอมรับได้ในเชิงการค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ศุภศักดิ์ ลิมปิติ และ วิบูลย์ ช่างเรือ. 2535. การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของข้าวญี่ปุ่นในฤดูนาปี. รายงานวิจัย 1-35 ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Kunze, O.R.1964.Environmental Conditions and Physical Properties which Produce Fissures in Rice. Ph.D. Dissertation Mich.State Univ.
Kunze, O.R. 1977.Moisture adsorption influences on rice.J.Food Process Eng. 1(2) 167-181.
Kunze, O.R. and C.W. Hall. 1965. Relative humidity changes that cause brown rice to crack.Trans.ASAE 8(3) 396-399,405.
Kunze, O.R. and C.W. Hall. 1967. Moisture adsorption characteristics of brown rice. Trans. ASAE 10 (4) 448-450,453.
Kunze, O.R. and S. Prasad. 1978. Grain fissuring potential in harvesting and drying of rice. Trans. ASAE 21 (2) 361-366.