ผลของสภาพความสูงของพื้นที่ที่มีผลต่อคุณภาพกาแฟอราบีก้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการเปรียบเทียบผลของความสูงของพื้นที่ที่มีต่อคุณภาพกาแฟอราบีก้า โดยใช้พื้นที่ในระดับความสูงที่ต่างกัน ได้แก่ สถานีฯช่างเคี่ยน (ความสูง 1,250 เมตร) สถานีฯหนองหอย (ความสูง 950 เมตร) โครงการหลวงปางดะ (ความสูง 650 เมตร) และคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ความสูง 350 เมตร) พบว่าผลกาแฟที่ได้จากสถานีฯช่างเคี่ยนมีขนาดของผลใหญ่และสารกาแฟจำนวนมากแตกต่างจากผลกาแฟที่ได้จากแหล่งอื่น ๆ สำหรับอัตราส่วนผลกาแฟสุดต่อสารกาแฟ ผลกาแฟที่ได้จากสถานีฯช่างเคี่ยนจะให้อัตราส่วนที่ต่ำที่สุด คือ ผลสด 5.88 ส่วนต่อสารกาแฟ 1 ส่วน ซึ่งจะน้อยกว่าผลของกาแฟที่ได้จากแหล่งอื่น ๆ แต่ในขณะเดียวกันกลับให้จำนวนเปอร์เซนต์สารกาแฟเกรด A สูงที่สุด ส่วนคุณภาพในด้านการชิมพบว่ากาแฟที่ได้จากสถานีฯ ช่างเคี่ยนให้คุณภาพดีที่สุด รองลงมา ได้แก่ สถานีฯหนองหอย โครงการหลวงปางดะและคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามลำดับ
Article Details
References
อักษร เสกธีระและ พัฒนพันธุ์ ไพชยนต์ 2537. ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของกาแฟ. การปลูกและผลิตกาแฟ อราบีก้าบนที่สูง. หน้า 21-50
พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ สุนันท์ ละอองศรี และธีรภัทร สันติเมธินีดล. 2531. จากฝืนสู่กาแฟ. โรงพิมพ์คารารัตน์. เชียงใหม่. 87 หน้า
พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ และพัชนี สุวรรณวิศลกิจ. 2537. การเก็บเกี่ยว การทำสารกาแฟและการศึกษาคุณภาพสาร กาแฟ. การปลูกและผลิตกาแฟอราบีก้าบนที่สูง หน้า 127-138.
Berry, J. and 0. Birthman, 1980. Photosynthetic response and adaptation to temperature in higher plants. Ann. Rev. Plant Physiol. 31: 491-543.
Cannell, M.G.R. 1985. Physiology of Coffee Crop. in Clifford, M.N. and Willson, K.C. 1985 Coffee : Botany Biochemistry and Production of Beans and Beverage. The AVI Publishigh Company Inc.Conecticut 457 pp.
Op de Laak, J. 1992. Arabica Coffee Cultivation and Extension Manual for the Highlands of Northern Thailand. Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand. 111 pp.