ระยะเวลาในการทำแห้งที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพลับกึ่งแห้ง

Main Article Content

ไพโรจน์ วิริยจารี
ธารา ศรีสกุล
สุจินดา ศรีวัฒนะ

บทคัดย่อ

พลับสดพันธุ์ฝาดสามารถนำมาผลิตเป็นพลับกึ่งแห้งได้ ซึ่งสายพันธุ์ที่เหมาะสม คือ พันธุ์อั้งใส (Ang Sai; P3) และนูซิน (Niu Scin ; P4) โดยนำพลับสดดังกล่าวมาผ่านกรรมวิธีการลดความฝาด ด้วยวิธีบรรจุในบรรยากาศของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส นาน 3 วันเพื่อลดปริมาณแทนนินที่ละลายน้ำได้ ทำให้ความฝาดลดลง หลังจากนั้นนำมาเก็บรักษา ในบรรยากาศปกติที่อุณหภูมิเดิมนาน 2-3 วัน จนกระทั่งมีความสุกประมาณร้อยละ 80


การศึกษาหาเวลาในการทำแห้งที่เหมาะสมโดยการทำแห้งพลับกึ่งแห้งใช้อุณหภูมิเริ่มต้นช่วง 24 ชั่วโมงแรก ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นจะทำแห้งต่อที่อุณหภูมิ 35-45 องศาเซลเซียส จนกระทั่งพลับมีความชื้นประมาณร้อยละ 30 จากการศึกษาหาเวลาที่เหมาะสมในการผลิตพลับกึ่งแห้งพบว่า  เวลาในการทำแห้งพลับพันธุ์อั้งใส (P3) คือ 60 ชั่วโมง 34 นาที จึงได้ผลิตภัณฑ์พลับกึ่งแห้งที่มี ความชื้นร้อยละ 30 โดยการทำแห้งพลับ 1 ผล (100.75 กรัม) ของพันธุ์ P3 ให้มีความชื้นดังกล่าวนั้น ต้องทำแห้งจนกระทั่งมีน้ำหนักเป็น 31.83 กรัม  และเวลาในการทำแห้งของพลับพันธุ์นูซิน (PA) คือ 77 ชั่วโมง 37 นาที จึงได้ผลิตภัณฑ์พลับกึ่งแห้งที่มีความชื้นร้อยละ 30 โดยการทำแห้งพลับ 1 ผล (191.63 กรัม) ของพันธุ์ P4 ให้มีความชื้นตามที่ต้องการนั้นต้องทำแห้งจนกระทั่งมีน้ำหนักเป็น 59.11 กรัม โดยที่ผลิตภัณฑ์พลับกึ่งแห้งที่ได้ควรเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทและเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพที่ดี และเก็บรักษาได้ยาวนาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไพโรจน์วิริยจารี. 2535. สายพันธุ์พลับที่เหมเหมาะสมต่อการผลิตพลับกึ่งแห้ง. วารสารเกษตร. 8 (1): 11-21. ไพโรจน์ วิริยจารี. 2539. อาหารกึ่งแห้ง. ภาควิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมบัติ ขอทวีวัฒนา 2529. กรรมวิธีการอบแห้ง. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
Davies, R., G.G. Birch, and K.J. Parker, 1976. Inter mediate Moisture Foods. Applied Science Publishers, Ltd., London.
Deman, J.M. 1990. Principle of Food Chemistry. 2nd edition, AVI Book, London.
Fellow, P.J. 1990. Food Processing Technology : Principal and Practice. 2nd edition, Ellis Horwood. West Sussex
Potter, N.N. 1968. Food Science : Food Dehydrate and Concentration. AVI publishing .Westport, Connecticus.
Seow, C.C., T.T. Teng, and C.H. Quah. 1988. Food Preservation by Moisture Control. Elsevier Applied Science, London and New York.
Walonic, D.S. 1987. Stat-Packets. Walonick Associates Inc. Minneapolis, MN.
Willium, J.C. 1976. Chemical and non-enzymic changes in intermediate moisture foods. p. 100-120. Edited by Birch, G.G., Davies, R., and Parker,K.G. In: Intermediate Moisture Foods. Applied Science, London.