ประสิทธิภาพการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอกในถั่วเหลือง แบบก่อนให้น้ำ 1 วัน

Main Article Content

พรชัย เหลืองอาภาพงศ์

บทคัดย่อ

ทำการทดลอง 3 แปลงการทดลองระหว่างเดือนธันวาคม 2538-พฤษภาคม 2539 ในแปลงของเกษตรกร อำเภอแม่ริม และอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชของสารเคมีประเภทหลังงอกในถั่วเหลืองที่พ่นในสภาพก่อนการให้น้ำ 1 วัน เมื่อวัชพืชมีขนาดอายุต่างกัน พ่นสารกำจัดวัชพืquizalofop-p-tefuryl[(±)-tetrahydrofurfuryl(R)-2-[4-(6chloroquinoxalin-2-yloxy)phenoxy]propanoate]  อัตรา9.6 กรัมออกฤทธิ์/ ไร่  fluazifop-butyl [(±)-2-4(4-(5(trichloromethyl)-2-pyrdinyl)oxy)phenoxy)-propanoic acid)] อัตรา24.0 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่  haloxyfop-R-methyl ester [(R-methyl-2-(4-(3-chloro-5(trifluoro-methyl)-2-yridyloxy)phenoxy) propionate)] อัตรา 8.6 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ และ clethodim ((E,E)-( ±) 2- (1-(((3-chloro-2-propenyl)oxy)aminopropyl)-5- (2-(ethylthio)propy10-3-hydroxy-2-cyclohexen-1-one) อัตรา 24.0 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ในสภาพที่วัชพืชมีอายุน้อยและมาก โดยที่ภายหลังการพ่นสารเคมี 1 วันทำการให้น้ำแบบท่วมแปลง (flooding) พ่นสารเคมีด้วยถังพ่นแบบสะพายหลัง  ที่ปริมาณน้ำยา 60 ลิตร/ไร่  ผลการทดลองพบว่า สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอกชนิดต่าง ๆ มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมในการควบคุมวัชพืชประเภทใบแคบวงศ์หญ้าพวกหญ้าตีนนก (Digitaria sp.,) หญ้าข้าวนก (Echinochloa cros-galli) หญ้าตีนกา (Eleusine indica) และ หญ้าหางหมา (Setaria sp.) การใช้สารเคมีในระยะที่วัชพืชมีอายุน้อยจะมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้เมื่อวัชพืชมีอายุมากขึ้น  เพราะในระยะหลังวัชพืชมีขนาดใหญ่กว่าระยะแรก อย่างไรก็ตาม การใช้สารเคมีประเภทหลังงอกที่ระยะแรกหรือหลังงอก จะสามารถลดการแก่งแย่งแข่งขันของวัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การใช้สาร clethodim จะมีประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชประเภทใบแคบวงศ์หญ้าได้ดีกว่าการใช้สารเคมีชนิดอื่น ๆ ในการทดลอง ไม่ว่าการใช้สารเคมีประเภทหลังงอกในช่วงที่วัชพืชมีอายุน้อยหรือมาก จะสามารถเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพที่ไม่มีการใช้สารเคมี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรพรรณ สุทธิเรืองวงศ์. 2521. การประเมินวิธีป้องกันกำจัดวัชพืชด้วยสารเคมีในระบบการปลูกถั่วเหลือง ตามหลังข้าวในเขตที่ลุ่ม จ.เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์เชิงระบบ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 166 หน้า.
พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ และ ไกรสร เคาไวยกุล. 2538. การใช้สารสกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกและหลังงอก ในถั่วเหลือง. วารสารเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 11(3): 208-217.
พนิต หมวกเพชร. 2538. ผลของปริมาตรสารฉีดพ่นที่มีต่อประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชประเภทเลือก ทำลายใบแคบในถั่วเหลือง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 92 หน้า.
อภิพรรณ พุกภักดี. 2526. อิทธิพลของการเตรียมดินและการปลูกพืชตระกูลถั่วในลักษณะต่าง ๆ หลังการทำนา. รายงานการวิจัยประจำปีของโครงการวิจัยแม่บทที่ 1 เพื่อพัฒนาพืชโปรตีน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน 24-25 พฤษภาคม 2526.