ควรวิจัยอย่างไรในยุคไอเอ็มเอฟ 

คำถามข้างต้นน่าจะเกิดขึ้นในใจของนักวิจัยหลาย ๆ คนในขณะนี้ ส่วนหนึ่งคงจะเป็นความคิดที่เกิดขึ้นตามกระแสของการประหยัด เหมือนกับที่งานส่วนอื่น ๆ ต่างก็กำลังมุ่งมั่นดำเนินการกันอยู่ อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะเป็นความคิดที่เกิดจากสภาวะถูกบังคับ อาจจะด้วยข้อจำกัดงบประมาณของหน่วยงาน หรืออาจจะด้วยข้อกำหนดของแหล่งทุนที่เคร่งครัดมากขึ้น

การที่จะตอบคำถามข้างต้นได้ดี เราคงต้องหันกลับไปมองงานวิจัยของหน่วยงานของเรา หรือแม้แต่ของตัวเราเองในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ขณะยังไม่แตก ถ้าเราเดินมาถูกทางแล้ว หมายความว่า งานวิจัยของเราสามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับประเทศในสภาวะย่ำแย่อย่างนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม หรืองานวิจัยของเราสามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีให้กับประเทศได้อย่างเป็นชิ้นเป็นอัน เราก็ควรที่จะเดินหน้าต่อไป แต่สิ่งที่ควรจะมุ่งเน้นจากนี้ต่อไป คือ ชิ้นงานที่เป็นรูปธรรมมากกว่า ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่เพียงอย่างเดียว

แต่ถ้าที่ผ่านมาเราทำการวิจัยที่กระจัดกระจายเกินไป หาจุดเน้นไม่ได้ เพราะทำวิจัยลักษณะมือปืนรับจ้าง บางทีถ้าเราปรับหางานวิจัยประเภท Product oriented research หรือ Problem oriented research เราอาจจะช่วยชาติในยุคไอเอ็มเอฟได้มากกว่าการบริจาคเงินหรือทองช่วยชาติก็ได้

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-26

เปรียบเทียบคุณลักษณะพันธุ์ไหมลูกผสมชนิดพักปีละ 2 ครั้ง

วสันต์ นุ้ยภิรมย์, จิราพร ไชยฝาง, ระพีพงศ์ เกษตรสุนทร

240-247

เปรียบเทียบคุณลักษณะเส้นไหมลูกผสมชนิดฟักปีละ 2 ครั้ง

วสันต์ นุ้ยภิรมย์, จิราพร ไชยฝาง, ระพีพงศ์ เกษตรสุนทร

248-255