เปรียบเทียบคุณลักษณะเส้นไหมลูกผสมชนิดฟักปีละ 2 ครั้ง

Main Article Content

วสันต์ นุ้ยภิรมย์
จิราพร ไชยฝาง
ระพีพงศ์ เกษตรสุนทร

บทคัดย่อ

การเปรียบเทียบเส้นไหมลูกผสมที่ฟักปีละ 2 ครั้ง โดยใช้รังไหมจำนวน 30 สายพันธุ์ ที่ได้จากพันธุ์ PH2, PH3, PH5, PH8, PH9 และ PH 10 ผสมแบบพบกันหมดและผสมสลับ มาวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design) รวม 10 ซ้ำ ทำการทดลอง 3 ระยะ คือ ระยะแรกเดือนสิงหาคม 2539 ระยะที่สองเดือน พฤศจิกายน 2539 และระยะสุดท้ายเดือน มีนาคม 2540 ที่สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่  พบว่ารังไหม สายพันธุ์ที่มี คุณลักษณะเส้นไหมยาวและขนาดของเส้นไหมดีเหมาะสมที่จะนำไปสาวด้วยเครื่องสาวไหม ของโรงงานได้รวมทั้งมีน้ำหนักเส้นไหมสูงเพียงพอใน 2 ระยะของช่วงการทดลอง ได้แก่ พันธุ์ PH5 x PH9, PH8 x PH5, PH8 x PH10, PH9 x PH5 และ PH9 x PH8 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความยาวเส้นไหม 888.20-1,070.20 เมตร  น้ำหนักเส้นไหม 0.29-0.33 กรัม  และขนาดเส้นไหมอยู่ระหว่าง 2.61-3.11 ดีเนียร์  ในการวิเคราะห์ทางสถิติ ทั้ง 5 พันธุ์ดังกล่าวไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับสายพันธุ์อื่น ๆ ในบางคุณลักษณะเส้นไหมของแต่ละสายพันธุ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรรยา ปั้นเหน่งเพชร, แสงจันทร์ ขวัญอ่อน, คนธวิรัช ชมชื่น, ปาน ปั้นเหน่งเพชร, วรพจน์ รักสังข์, ชาญณรงค์ พูลศิลป์ และ เกษร สุขเจริญ. (2533). การทดสอบคุณภาพรังไหมพันธุ์ต่างๆของศูนย์วิจัยหม่อนไหม นครราชสีมาในด้านการสาวไหม. น. 225-229. ใน รายงานผลการค้นคว้าวิชาการหม่อนไหม ปี 2537. สถาบันวิจัยหม่อนไหม, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สมโพธิ อัครพันธุ์. (2539). การพัฒนาหม่อนไหมในประเทศไทย. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด , กรุงเทพฯ. 179 หน้า.
Omura T. (1981). Silk Reeling Technics in the Tropics. Japan International Cooperation Agency, Tokyo, Japan. 312 pp.