การคัดเลือกโมโนคาริออนของเห็ดนางรมเพื่อการผสมพันธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ได้มีการแบ่งเส้นใยนิวเคลียสเดี่ยวที่งอกจากสปอร์เดี่ยวทั้งหมด 42 สายพันธุ์ ออกเป็น 4 กลุ่ม คือเส้นใยที่เจริญเร็วมาก เจริญเร็ว เจริญช้า และเจริญช้ามาก แต่ละกลุ่มคัดให้มีเส้นใยนิวเคลียสเดี่ยว 5 สายพันธุ์แล้วผสมแบบพบกันหมด พบคู่ผสมที่มีข้อยึดระหว่างเซลอยู่ 40 คู่ผสม และมีเพียง 24 คู่ผสมที่เกิดดอกเห็ดได้
ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าการเกิดข้อยึดระหว่างเซลและการเกิดดอกเห็ดได้ดีนั้นจะได้จากการผสมข้ามระหว่างสามกลุ่มแรกที่เส้นใยมีอัตราการเจริญเร็ว การผสมในกลุ่มเดียวกันหรือกับพวกที่เส้นใยมีอัตราการเจริญช้ามาก จะไม่มีการสร้างข้อยึดระหว่างเซล หรือให้ผลผลิตที่น่าพอใจ
ศักยภาพในการให้ผลผลิตของลูกผสมนิวเคลียสคู่นั้นไม่อาจระบุได้จากไซโมแกรมของไอโซไซม์ esterase, acid phosphatase หรือโปรตีนทั้งหมดของเส้นใยนิวเคลียสเดี่ยว สำหรับการเกิดของเส้นใยนิวเคลียสคู่นั้นไม่อาจระบุได้ว่าเกิดจากการผสมของเส้นใยนิวเคลียสเดี่ยวคู่ใด
Article Details
References
สมศักดิ์ วรรณศิริ, ทวีศักดิ์ นวลพลับ และปฐพีชล วายุอัคคี. 2530. การเพาะเห็ดนางรม-นางฟ้า. กองบรรณาธิการเฉพาะกิจ “ฐานเกษตรกรรม”, กรุงเทพฯ. 72 หน้า.
Eger, G. 1978. Biology and Breeding of Pleurotus ostreatus, p. 497-517. In S.T. Chang and W.A. Hayes (eds). The Biology and Cultivation of Edible Mushroom. Academic Press, New York.
Eger, G., G. Eden and E. Wissig. 7976. Pleurotus ostreatus breeding potential of a new cultivate mushroom. Theor.Appl.Genet.47: 155-163.
Molitoris, H.P. 1978. Wood degradation, phenoloxidase and chemotaxonomy of higher fungi. Mshroom Science x (part 1): 243-261.
Raper, A. 1978. Sexuality and Breeding, P. 83-117. In S.T. Chang and W.A. Hayes (eds). The Biology and Cultivation of Edible Mushroom. Academic Press, New York.
Szabo, I. 1981. Heat requirement of Pleurotus strain during mycelial growth. Hort.Abstr. 51 (6): 417. Zandazil, F. 1978. Cultivation of Pleurotus, p. 521-554. In S.T. Chang and W.A. Hayes (eds). The Biology and Cultivation of Edible Mushroom. Academic Press, New york.