การเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินในยอดลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยก่อนการออกดอก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินในยอดลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยก่อนการออกดอกด้วยการศึกษา พันธุ์ผักกาดหอม เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลิน โดยวิธี Lettuce hypocotyl bioassay (LHB) ผลการทดลองปรากฏว่าความยาวของ Hypocotyl เพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของจิบเบอเรลลินเพิ่มขึ้นจาก 1X10-3 ถึง 1 สตล และพบว่าผักกาดหอมพันธุ์ Dresser ตอบสนองต่อความเข้มข้นของ GA3 ได้ดีกว่าพันธุ์อื่น นอกจากนี้ ยังพบว่าพันธุ์และความเข้มข้นของ GA3 มีปฏิกิริยาร่วมกัน เมื่อพันธุ์แตกต่างกันการตอบสนองต่อ GA3 ก็ต่างกันไปด้วย การทำกราฟมาตรฐานเพื่อวิเคราะห์สารคล้ายจิบเบอเรลลิน โดยวิธี LHB แสดงให้เห็นว่าผักกาดหอมพันธุ์ Dresser สามารถวัดปริมาณ GA3 ได้ต่ำที่สุดที่ 1x10-3 สตล และผลการวิเคราะห์กราฟมาตรฐานของผักกาดหอมพันธุ์ Dresser พบช่วงที่เป็นเส้นตรงระหว่าง 1x10-3 ถึง 1 สตล และเวลาที่แตกต่างกันในการทำกราฟมาตรฐาน เพื่อวิเคราะห์สารคล้ายจิบเบอเรลลิน โดยวิธี LHB พบว่าวันเวลาที่แตกต่างกัน (72 วัน) ในการทำกราฟมาตรฐานไม่มีผลต่อการวิเคราะห์สารคล้ายจิบเบอเรลลินโดยวิธี LHB
จากการศึกษาตำแหน่ง Rf ที่มีกิจกรรมของสารคล้ายจิบเบอเรลลิน พบกิจกรรมของสารคล้ายจิบเบอเรลลินที่ Rf 0.2-0.5
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินในยอดลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยก่อนการออกดอกใช้ต้นลิ้นจี่อายุ 4-5 ปี ที่สวนลิ้นจี่ของสถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ทำการเก็บตัวอย่างตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2539 ผลการทดลองพบว่าสารคล้ายจิบเบอเรลลิน มีปริมาณสูงในสัปดาห์ที่ 4 ก่อนการแทงช่อดอก และปริมาณลดลงในสัปดาห์ที่ 3 ในขณะที่ปริมาณคงที่ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 2 และปริมาณลดลงอีกครั้งจนไม่สามารถวัดได้ในสัปดาห์ที่ 1, และในสัปดาห์ที่เริ่มแทงช่อดอก
Article Details
References
นพพร บุญปลอด. 2539. การเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินในยอดลำไยพันธุ์ดอก่อนการออกดอก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 62 น.
นาถฤดี ศุภกิจจารักษ์. 2533. ผลของสารพาโคลบิวทาโซลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินที่ปลายยอดและการออกดอกของมะม่วงพันธ์เขียวเสวย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 63 น.
พีรเดช ทองอำไพ. 2529, ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. ไดนามิกการ พิมพ์, กรุงเทพฯ. 196 น.
Frankland, B. and P.F. Wareing. 1960. Effect of gibberellic acid on hypocotyl growth of lettuce seedlings. Nature 182: 528-529.
Chen, W.S. 1987. Endogenous growth substances in relation to shoot growth and flower bud development of mango. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 112(2): 360-363
Chen, W.S. 1990. Endogenous growth substances in xylem and shoot tip diffusate of lychee in relation to flowering. HortScience 25(3): 314-315.
Chen, W.S., H.Y. Liu, Z.H. Liu, L. Yang and W.H. Chen. 1994. Gibberellin and temperature influence carbohydrate content and flowering in Phalaenopsis. Physiol. Plant. 90: 391-395.
Nishijima. T., M. Koshioka and H. Yamazaki. 1993. A highly-sensitive rice seedling bioassay for the detection of femtomole quantities of 3b-hydroxylated gibberellins. J. Plant Growth Regul. 13: 241-247.