เปรียบเทียบคุณลักษณะพันธุ์ไหมลูกผสมชนิดพักปีละ 2 ครั้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบพันธุ์ไหมลูกผสมชนิดฟักปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ไหมลูกผสมจำนวน 30 สายพันธุ์ที่ได้จากพันธุ์ PH2, PH 3, PH 5, PH 8, PH9, และ PH 10 โดยการผสมพบกันหมดและแบบสลับ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design) 30 กรรมวิธี 3 ซ้ำ ทำการทดลอง 3 ระยะ คือ ระยะแรกระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2539 ระยะที่สองระหว่างเดือน กันยายน-ตุลาคม 2539 และระยะที่สามระหว่างเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2540 ที่สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ พบว่าไหมลูกผสมสายพันธุ์ PH5 x PH10 และ PH9 x PH5 ในทุกรุ่นมีความแข็งแรง (เปอร์เซ็นต์ดักแด้สมบูรณ์) และให้ผลผลิต (เปอร์เซ็นต์การเข้าทำรังดี น้ำหนักรังเดี่ยวน้ำหนักเปลือกรังเดี่ยว และเปอร์เซ็นต์เปลือกรัง) สูงกว่าสายพันธุ์ลูกผสมอื่น ๆ ส่วนสายพันธุ์ที่มีคุณลักษณะดีพบเพียง 2 ระยะของการทดลอง ได้แก่ สายพันธุ์ PH2 x PH5, PH3 x PH5, PH3 X PH8, PH3 x PH9, PH3 xPH10, PH5 x PH3, PH5 x PH9, PH8 x PH5, PH9 x PH2, PH9 PH3, และPH10 x PH9 ซึ่งพันธุ์ดังกล่าวไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
References
สมโพธิ อัครพันธุ์. (2539). การพัฒนาหม่อนไหมในประเทศไทย. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ. 179 หน้า.
Chandrashekharaiah. (1986). Silkworm Breeding. p. 66-69. In G.Boraiah. (ed.) Lectures on Siriculture. Surmya Publishers, Bangalore, India.
Manjeet S.J. (1983). Silkworm Genetic and Breeding. National Seminar on Silkworm Research and Development. Central Silk Board, Ministry of Commerce, India. 19 pp.
Reddy G. S. (1986). Genetic and Breeding of Silkworm Bombyx mori L. p. 70-88. In G. Boraiah (ed.) Lectures on Sericulture. Surmya Publishers, Bangalore, India.
Tazima Y. (1964). The Genetic of Silkworm. Logops Press Limited, London. 223 pp.