การใช้กากงาทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารไก่ไข่

Main Article Content

บุญล้อม ชีวะอิสระกุล
สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์

บทคัดย่อ

กากงาที่นำมาใช้เป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารไก่ไข่นี้ มีแหล่งที่มาต่างกัน 2 แหล่ง คือ กากงาชนิดผลิตเองในท้องถิ่นด้วยโรงงานสกัดน้ำมันขนาดเล็กแบบสกัดด้วยวิธีกล กับกากงาชนิดนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีแหล่งมาจากประเทศพม่าเป็นประเภทกากงาเมล็ดสีดำ และจากจีนเป็นประเภทเมล็ดสีขาว กากงาทั้ง 3 ประเภทจัดได้ว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง กล่าวคือ มีปริมาณโปรตีน 70-90% ของกากถั่วเหลืองแล้วแต่กรรมวิธีการสกัดน้ำมันและชนิดของเมล็ดงา นอกจากนี้ยังมีเมทไธโอนีนสูงเป็น 2 เท่าของกากถั่วเหลืองเมื่อนำไปใช้เป็นอาหารไก่ไข่ พบว่า กากงาชนิดผลิตเองในท้องถิ่น ใช้ได้ที่ระดับ 5% ในอาหารไก่รุ่นช่วงอายุ 6-20 สัปดาห์ โดยไม่แนะนำให้ใช้เป็นอาหารไก่ไข่ ส่วนกากงานำเข้าชนิดเมล็ดสีดำและสีขาวสามารถใช้ได้ที่ระดับ 8 และ 12% หรือเท่ากับแทนที่กากถั่วเหลือง 75 และ 100% ตามลำดับ โดยไม่ทำให้สมรรถภาพการผลิตไข่ด้อยลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กำธร นิลทวี. 2534. การใช้กากงาทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารไก่ไข่. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี, ภาควิชาสัตว ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ และบุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2535 (ก) การใช้กากงาทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารสัตว์ปีก 1. ไก่ไข่รุ่น และนกกระทาไข่. ในรายงานการประชุมทางวิชาการ สาขาสัตวศาสตร์, หน้า 145-160. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ และบุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2535 (ข) การใช้กากงาทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารสัตว์ปีก 2. ไก่ไข่. ว. เกษตร 8(3): 295-308.
สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ และบุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2536. การใช้กากงาทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารสัตว์ปีก 3 ไก่ไข่. ว. วิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 10(3): 27-36.
สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ และบุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2537. การใช้กากงาทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารสัตว์ สัตว์ปีก. 4. ไก่เนื้อ. ว. วิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 11(1): กำลังพิมพ์.
สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ และบุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2539. การใช้กากงาทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารไก่เนื้อ. ในรายงานการประชุมสัมมนางานวิจัยงา ครั้งที่ 7. ศูนย์วิจัยพืชไร่ อุบลราชธานี (กำลังพิมพ์).
Baghel. R.P.S. and S.P. Netke. 1987. Economic broiler ration based on vegetable proteins. Indian J. Anim. Nutr. 4(1): 24-27.
Bell, D.E., A.A. Ibrahim, G.W., Denton, G.G. Long and G.L. Bradley. 1990. An evaluation of sesame seed meal as a possible substitute for soybean oil meal for feeding broilers. Poultry Sci. 69 (Suppl.1): 157.
Boekenoogen, H.A. 1968. Analysis and Characterization of Oils, Fats and Fat Products, Vol. 2. Interscience Publishers. London, UK. 681 p.
Hassan, O.E.M. 1974. Utilization of tropical feedingstuffs in the nutrition of modern commercial laying stock. Tropical Agri. 51(4): 569-573.
Heo, C.K., J.Y. Lee and Y.C. Lee. 1990. Feeding value of various plant oil meals as a substitution of soybean meals in broiler diet. Korean J. Anim. Nutr. Feedst. 14(1): 14-19.
NRC (National Research Council). 1984. Nutrient Requirements of Poultry, 8th Ed. National Academy Press. Washington, D.C., USA. 71 p.