การนำเสนอบทความทางวิทยาศาสตร์เกษตร หรือรายงานผลการวิจัยในประเทศไทย เรามักมุ่งเน้นเฉพาะเนื้อหาที่เป็นผลการทดลองเท่านั้น ในส่วนของกระบวนการวางแผนการวิจัย วิธีการทดลอง ตลอดจนเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ทดลอง มักไม่ได้รับความสนใจรายงานในรายละเอียด ทั้ง ๆ ที่ส่วนเหล่านี้จะมีผลอย่างสำคัญต่อผลการทดลองที่จะได้รับด้วย และเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่จะอธิบายผลการทดลองว่า ทำไมการศึกษาในลักษณะเดียวกัน แต่ต่างกรรมต่างวาระ จึงให้ผลการทดลองที่แตกต่างกัน ถ้าพิจารณาถึงประเด็นนี้ การบรรยายวิธีการทดลองที่กระชับ แต่ครอบคลุม จึงเป็นสิ่งที่นักวิจัยควรได้รายงานไว้ด้วยดังที่ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศก็ได้มุ่งเน้นเช่นกัน เช่น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษายังต้องระบุถึงระดับรุ่น (Model) เลยทีเดียว

งานวิจัยที่ต้องมีการพัฒนาเครื่องมือพื้นฐาน หรือเทคนิคและวิธีการศึกษาที่เฉพาะขึ้นใหม่ ก็น่าที่จะตัดเฉพาะส่วนที่พัฒนาใหม่นี้ออกมารายงานเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยได้ เพราะเนื้อหาส่วนนี้ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเผยแพร่แก่ผู้สนใจเป็นพิเศษ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานขึ้นภายในประเทศด้วย นอกจากนี้เทคนิคที่ได้รับการพัฒนาใหม่นี้ยังอาจจะดีกว่าเทคนิคเดิมที่เรามักอ้างอิงจากตำราต่างประเทศเสียอีก เครื่องมือวิทยาศาสตร์ก็เช่นกันเรามักมุ่งซื้อจากต่างประเทศอย่างเดียว ทั้งๆที่บางชนิดเราอาจจะดัดแปลงจากอุปกรณ์พื้นฐานที่มีใช้อยู่ในประเทศได้อย่างง่าย ๆ และได้ผลดีเช่นกัน เพียงแต่เมื่อดัดแปลงแล้วเราไม่ได้เผยแพร่ออกไปเท่านั้น

เราต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่า เทคนิคที่เหมาะสมสำหรับประเทศเขตหนาว อาจไม่เหมาะสมกับประเทศเขตร้อนเสมอไป เพราะสิ่งแวดล้อมก็ไม่เหมือนกัน วัตถุทดลองก็แตกต่างกันเป็นอย่างมาก เทคนิควิธีการและเครื่องมือที่เราพัฒนาขึ้นเองน่าจะเหมาะสมที่สุด และยังเป็นการพึ่งตนเองทางด้านความคิด และเทคโนโลยีด้วย การมุ่งเพียงซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศอย่างเดียว จะทำให้เราต้องติดแอร์ให้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ต้องนำเข้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-26

Effect of Paclobutrazol with Ethephon on Flowering and Leaf Flushing of Lychee Cv. Hong Huay

Tawatchai Chaitrakulsub, Ryosuke Ogata, Suranant Subhadrabandhu

12-17

การใช้กากงาทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารไก่ไข่

บุญล้อม ชีวะอิสระกุล, สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์

18-26

การใช้กากงาทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารไก่เนื้อ

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์, บุญล้อม ชีวะอิสระกุล

27-38

การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหนมโดยใช้เทคโนโลยีเชื้อบริสุทธิ์เริ่มต้นผสม 7. การพัฒนาสีชมพูแดงในผลิตภัณฑ์

ไพโรจน์ วิริยจารี, ลักขณา รุจนะไกรกานต์, สุธยา บุญถนอม, วิวรรธน์ วรรธนัจฉริยา, อิศรพงษ์ พงษ์ศิริกุล

82-101