ขั้นตอนการพัฒนาระบบวนเกษตรซึ่งมีไม้ผลเป็นฐานบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน

Main Article Content

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ
พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ

บทคัดย่อ

ข้อจำกัดทางด้านกายภาพของที่ดินและความแปรปรวนของฝน ทำให้ทางเลือกการใช้ประโยชน์ที่ดินบนที่ดอนอาศัยน้ำฝนของภาคเหนือตอนบนถูกจำกัดลงอย่างมาก การปลูกพืชพาณิชย์เชิงเดี่ยวไม่  สามารถให้ผลตอบแทนอย่างมั่นคงได้ ดังนั้นรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินควรจะเปลี่ยนเป็นการผสมผสานระหว่างพืชองค์ประกอบหรือวนเกษตรที่มีไม้ผลเป็นหลัก


บทความนี้ได้แจกแจงแนวทางการพัฒนาระบบวนเกษตรที่มีไม้ผลเป็นหลัก โดยให้ความสำคัญกับเป้าหมายของการพัฒนาการคัดเลือกชนิดไม้ผล โดยใช้เกณฑ์ความสามารถในการปรับตัวและความต่อเนื่องในการให้ผลผลิตระยะยาว การประมวลองค์ความรู้ที่มีอยู่ พร้อมทั้งแจกแจงเงื่อนไขที่จะมีผลต่อการจัดการไม้ผลกับพืชไร่องค์ประกอบ


บทความนี้ได้ใช้การพัฒนาระบบวนเกษตรที่มีมะม่วงเป็นองค์ประกอบหลักบนพื้นที่ปฏิรูปที่ดินโครงการป่าจอมทองเป็นกรณีศึกษา และได้แสดงผลการทดลองที่กระทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 5 ปี ให้เห็นเป็นขั้นตอนของการพัฒนา โดยเริ่มจากการคัดเลือกพันธุ์มะม่วงพันธุ์ส่งเสริมทางธุรกิจ และการคัดเลือกสายต้นที่ดีของพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดีกับพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน


ลักษณะงานที่เป็นองค์ประกอบเพื่อตอบคำถามการพัฒนามะม่วงให้เหมาะสมกับพื้นที่ดอนอาศัยน้ำฝนประกอบด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงและการดูแลรักษา เพื่อให้มะม่วงอยู่รอดในปีที่หนึ่ง เช่นการเลือกใช้อายุกล้าที่เหมาะสมการจัดการด้านปุ๋ย ปริมาณน้ำที่จำเป็นต้องให้เสริม และการคลุมโคนด้วยเศษหญ้า นอกจากนี้ได้ศึกษาชนิดของไม้กันลมที่จะลดการหักล้มของต้นมะม่วง


ผลงานวิจัยร่วมกับเกษตรกรอย่างต่อเนื่องนี้ ได้นำมากำหนดแนวทางพัฒนามะม่วงที่จะให้สอดคล้องกับแต่ละสภาพแวดล้อม โดยเน้นการจัดทำแปลงคัดเลือกพันธุ์และการคัดเลือกสายต้น การถ่ายทอดวิธีการขยายพันธุ์ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อย่นเวลาการกระจายสายต้นพันธุ์ดีของพันธุ์ที่เหมาะสมในปริมาณที่มากและเพื่อพัฒนาอาชีพทางเลือกด้านขยายพันธุ์ให้กับเกษตรกรจากกรณีตัวอย่างการพัฒนามะม่วงในระบบวนเกษตรในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินโครงการป่าจอมทอง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 7 ปี ที่จะสามารถกระจายสายต้นที่ดีของมะม่วงที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม โดยการสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่มีส่วนร่วมในการขยายพันธุ์ ทั้งนี้ด้วยการฝึกอบรมอย่างใกล้ชิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศิณี ระมิงค์วงศ์. 2530. ไม้ผลเมืองร้อน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 290 หน้า.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. 2535. การใช้แนวทางระบบการทำฟาร์มเพื่อปรับปรุงไม้ผลยืนต้นบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน: กรณีศึกษาพื้นที่ปฏิรูปที่ดินป่าจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. ภาคนิทัศน์ การสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 9: ระบบการทำฟาร์มที่จะนำไปสู่ถาวรภาพทางการเกษตร. 24-27 มีนาคม 2535. โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน จังหวัดภูเก็ต.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ ภัททนันท์ วุฒิการณ์ ทิมม์. 2534. ปัญหาและความต้องการในการปลูกมะม่วงของ เกษตรกรบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. วารสารเกษตร (ม. เชียงใหม่) 7(2): 134-153.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ อดิศร กระแสชัย. 2534. การผสมผสานไม้ยืนต้นเพื่อการพัฒนาระบบเกษตรที่ยืนยงบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน 1. ประเมินพันธุ์ไม้ไม้ยืนต้น. วารสารเกษตร (ม. เชียงใหม่) 7(1): 77-95.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และอดิศร กระแสชัย. 2535ก. การเปรียบเทียบพันธุ์มะม่วงเพื่อพัฒนากการนาการเกษตรแบบยืนยงบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. วารสารเกษตร (ม. เชียงใหม่) 8(1): 50-68.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ อดิศร กระแสชัย. 2535ข. การผสมผสานไม้ยืนต้นเพื่อการพัฒนาระบบการเกษตรที่ยืนยงบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน 2. การเปรียบเทียบพันธุ์มะม่วงที่มีอายุ 3 ปี. วารสารเกษตร (ม. เชียงใหม่) 8(3): 281-294.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ อดิศร กระแสชัย. 2537. การผสมผสานไม้ยืนต้นเพื่อการพัฒนาระบบการเกษตรที่ยืนยงบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน 2. การเปรียบเทียบพันธุ์มะม่วงที่มีอายุ 4 ปี. วารสารเกษตร (ม. เชียงใหม่) 10(1): 58-73.
นิรนาม. 2535. รายงานสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาวนเกษตรในประเทศไทย.1-3 ธันวาคม 2535. จังหวัดเชียงใหม่. 35 หน้า
ปฐมา เดชะ. 2537. อายุของต้นกล้าที่มีผลต่อการอยู่รอดของต้นมะม่วงในปีแรกบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 37 หน้า.
ประศาสน์ สุทธารักษ์. 2535. ผลของปุ๋ยไนโตรเจนและการทำร่มเงาที่มีต่อต้นมะม่วงปลูกในปีแรกบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 101 หน้า.
ปราณี เรืองมาลัย. 2537. ปริมาณการให้น้ำที่มีผลต่อการมีชีวิตรอดของมะม่วงในปีแรกบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน.ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 38 หน้า.
สุพร อำมฤคโชค และพฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. 2536. ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำภาคเหนือของไทย. เอกสารเสนอในการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 10. 23-25 มีนาคม 2536. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
Gypmantasiri, P., M. Ekasingh and W. Maneevan. 1991. Appropriate research and development support for soybean extension in Chiang Mai. Paper presented at the 5th OCDP Technical Annual Seminar. 4 September 1991. Pattaya, Chonburi, Thailand.
Hanviriyapant, S. 1990. On-farm research on sequential cropping systems in the rainfed upland areas. Master Thesis. Chiang Mai University. 92 p.
Insomphun, S., V. Sriwattanapongse, and A. Kanacharaeonpongse. 1987. On-farm cropping systems research for upland rainfed conditions. p. 122-145. In Upland Rainfed Cropping Systems Project. Technical Report.
Junpoom, B. 1991. Determination of recommendation domain for soybean production technology in a rainfed upland area. Master Thesis. Chiang Mai University. 69 p.
Kirsch, H. 1995. Physiographic characteristics of the Chom Thong Land Reform Project area. p. 12- 25. In. H. Kirsch and P. Rakariyatham. (eds.) Improvement of crop yields and simultaneous environmental impact assessment in conjunction with intensification and diversification of agroforestry on marginal land in northern Thailand. Final report, Volumn 1. Chiang Mai University, Chiang Mai.
Nair, P.K.R. 1993. An introduction to agroforestry, Kluwer Academic Publishers. Dordrecht, The Netherlands. 499 p.
Ratanapesla, K. 1993. Evaluation of resource utilization and planning for optimal farm in Chom Thong Land Reform area. Chiang Mai Province. Master Thesis. Chiang Mai University. 148 p.