การตอบสนองของมะเขือเทศต่อการเข้าทำลายโดยเชื้อ <I>Fusarium</I>

Main Article Content

ชัยวัฒน์ โตอนันต์

บทคัดย่อ

จากการทดลองปลูกเชื้อ Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici ซึ่งเป็นราสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคกับมะเขือเทศ เปรียบเทียบกับราอีก 2 สายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคกับมะเขือเทศ เป็นระยะเวลา 1 และ 2 สัปดาห์ ตามลำดับ จากนั้นเก็บรวบรวมของเหลวที่ได้จากท่อน้ำท่ออาหารโดยการตัดส่วนลำต้นที่โคนของกล้ามะเขือเทศมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน พบว่ามีความแตกต่างกันระหว่าง สิ่งทดลองทั้งในด้านปริมาณ ค่าความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณของโปรตีนของของเหลวที่ได้จากท่อน้ำ ท่ออาหาร เมื่อสกัดโปรตีนจากใบที่ค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 3.0 มาวิเคราะห์ด้วยวิธี SDS-PAGE พบว่าในพืชที่ถูกปลูกเชื้อเป็นเวลา 2 อาทิตย์ แสดงความแตกต่างของโปรตีน โดยเฉพาะในพืชที่ปลูกเชื้อด้วย F.o.f. sp. lycopersici ที่พบว่ามีแถบโปรตีนขนาดประมาณ 8 กิโลดาลตัน ปรากฎเห็นได้ชัด ในขณะที่พืชในกลุ่มอื่น ๆ ไม่พบแถบโปรตีนนี้ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างบางประการ ในขบวนการเมตาโบลิซึมภายในต้นมะเขือเทศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อราแต่ละสายพันธุ์กับพืชอาศัยนั่นเอง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ อาจนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงการกระตุ้น เพื่อชักนำให้พืชเกิดความต้านทานต่อโรคได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ausubel, F.M. , R. Brent, R.E. Kingston, D.D. Moore, J.G. Seidman, J.A. Smith, and K. Struhl. 1993. Current Protocols in Molecular Biology. Vol 2. John Wiley & Sons, New York.
Averre, C. W. and A. Kelman. 1964. Severity of bacterial wilt as influenced by ratio of virulent cells of Pseudomonas solanacearum in inoculum. Phytopathology 54: 779-783.
Blum, H., H. Beier, and H.J. Gross. 1987. Improved silver staining of plant proteins, RNA and DNA in polyacrylamide gels. Electrophoresis 8: 93-99.
Bradford, M. M. 1976. A rapid and sensitive method for the quantitation of microgram quantities of protein utilizing the principle of protein-dye binding. Anal. Biochem. 72: 248-254.
Davis, D. 1967. Cross-protection in Fusarium wilt diseases. Phytopathology 57: 311-314.
Ishiba, C., T. Tani, and M. Murata. 1981. Protection of cucumber against anthracnose by a hypovirulent strain of Fusarium oxysporum f. sp. cucumerinum Ann. Phytopathol. Soc. Japan 47: 352-359.
Kerr, A. 1988. Biological control of bacterial pathogens. In 5 th International Congress of Plant Pathology. Abstract of Papers, Kyoto pp 18.
Kuc, J. and S. Richmond. 1977. Aspects of the protection of cucumber against Colletotrichum lagenarium by Colletotrichum lagenarium Phytopathology 67: 533-536.
McKinney, H. H. 1929. Mosaic diseases in the Canary Island, West Africa, and Gibraltar. J. Agr. Res. 39: 557-578.
McNeill, M., A.D Darvill, S.D. Fry, and P. Albersheim. 1984. Structure and function of the primary cell walls of plants. Ann. Rev. Biochem. 53: 625-663.
Motoyoshi, F. 1988. Biological control of virus disease by attenuated viruses. In 5 th International Congress of Plant Pathology Abstracts of Papers, Kyoto pp 18.
Nelson, H., S. Ouchi, T. Shiraishi, and H. Oku. 1992. Induced resistance to Fusarium wilt of tomato: and cucumber : symptoms and pathogen proliferation. Ann. Phytopathol. Soc. Japan 58: 659-663.
Yamaguchi, K., T. Sano, M. Arita, and M. Takahashi, 1992. Biocontrol of Fusarium wilt of tomato and Verticillium wilt of eggplant by non-pathogenic Fusarium oxysporum MT 0062. Ann. Phytopath. Soc. Japan 58: 188-194.